หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

ยาเพิ่มน้ำนม

ยาเพิ่มน้ำนม Domperidone
เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone)

บทนำ
ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ที่ต่อมใต้สมองผลิตขึ้น โปรแลคตินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ในเต้านมของแม่ผลิตน้ำนม ดอมเพอริโดนมีส่วนช่วยเพิ่มฮอร์โมนโปรแลคตินทางอ้อม โดยเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานของโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารที่มีผลยับยั้งการผลิตโปรแลคตินของต่อมใต้สมอง
โดยทั่วไปดอมเพอริโดนถูกนำไปใช้รักษาอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ไม่ใช่เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะนำไปใช้ไม่ได้ เพียงแค่ผู้ผลิตยาไม่ได้รับรองการนำไปใช้เพื่อผลในการสร้างน้ำนมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีผลการศึกษาหลายแห่งที่สนับสนุนว่ามันช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม และเป็นยาที่มีความปลอดภัยเพียงพอ ในอดีตมันเคยถูกนำไปใช้กับทารกซึ่งอาเจียนและน้ำหนักลด แต่เคยถูกแทนที่โดยยาซิสสาไพรด์ (Cisapride หรือ Prepulsid) อยู่พักหนึ่ง (ซิสสาไพรด์ถูกยกเลิกการใช้ไป เนื่องจากมันอาจก่อให้เกิดปัญหากับหัวใจของผู้ใช้อย่างรุนแรง)
ดอมเพอริโดนไม่ใช่ยาตระกูลเดียวกันกับซิสสาไพรด์ ยาอีกตัวหนึ่งซึ่งมีมานานกว่าคือเมโทโคลพาไมด์ (Metoclopramide หรือ Maxeran หรือ Reglan) ก็เป็นยาที่รู้จักกันว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่เป็นยาที่มักก่อให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งทำให้การนำไปใช้กับแม่ที่ให้นมลูกไม่เป็นที่ยอมรับ (เหนื่อยล้า หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า) ดอมเพอริโดนมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามากเนื่องจากปริมาณยาที่เข้าสู่สมองไม่มาก (ยาไม่ซึมผ่านแนวกั้นสมอง Blood-brain Barrier)
ในเดือนมิถุนายน ปี 2004 องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ออกประกาศเตือนการใช้ดอมเพอริโดน ว่าอาจมีผลข้างเคียงต่อหัวใจ ทั้ง ๆ ที่ผลข้างเคียงนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเป็นการให้ยาเข้าสู่เส้นเลือดแก่ผู้ป่วยหนักเท่านั้น ตลอดหลายปีที่ผ่านมาซึ่ง ผู้เขียน (Dr.Jack Newman) ได้จ่ายดอมเพอริโดนให้แก่แม่ซึ่งให้นมลูก ไม่เคยพบว่ามีผลข้างเคียงต่อหัวใจซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากดอมเพอริโดน
อีกประการหนึ่ง องค์การอาหารและยาของสหรัฐไม่ได้มีอำนาจการควบคุมนอกอาณาเขตสหรัฐ แม้กระทั่งในสหรัฐเอง การผลิตยาให้คนไข้เฉพาะบุคคล (Compounding Pharmacies) ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอาหารและยาสหรัฐ ก็ยังคงให้ดอมเพอริโดนแก่ผู้ป่วยอยู่ ผู้อ่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเอกสารเรื่องดอมเพอริโดนขององค์การอาหารและยาสหรัฐ
เมื่อไรจึงควรใช้ดอมเพอริโดน
ไม่ควรใช้ดอมเพอริโดนเป็นทางออกแรกสุดเมื่อมีปัญหาในการให้นมลูก ดอมเพอริโดนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาทุกเรื่อง จึงควรนำไปใช้ควบคู่กับการปรับแก้ปัจจัยซึ่งอาจส่งผลให้น้ำนมไม่เพียงพออื่น ๆ ไปด้วย
แล้วมีอะไรบ้างล่ะที่ควรทำไปพร้อม ๆ กัน
  1. สัมผัสลูกให้มากที่สุด ทั้งระหว่างการให้นมและเวลาอื่น ๆ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง สัมผัสรักระหว่างแม่-ลูก)
  2. ปรับท่าในการให้นมให้ถูกต้อง เพื่อให้ทารกดูกน้ำนมจากเต้าได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บางครั้งแค่การปรับท่าทางให้ถูกต้องก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดได้แล้ว
  3. ใช้การนวดกระตุ้นเต้านมเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับ (อ่านเพิ่มได้ใน การบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม)
  4. ถ้าคุณให้นมแม่อย่างเดียวโดยไม่ได้ให้นมผงเพิ่ม ลองปั๊มนมหลังมื้อนมดู การบีบน้ำนมนมด้วยมือซัก 2-3 นาทีหลังมื้อนมอาจช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้เป็นอย่างดี คุณแม่บางคนอาจเลือกใช้ปั๊มขนาดใหญ่ที่ใช้ตามโรงพยาบาลปั๊มนมต่ออีก 10-15 นาทีหลังมื้อนมก็ได้ แต่วิธีนี้อาจได้ผลดีเฉพาะกับแค่บางคนเท่านั้น ทำเท่าที่คุณพอจะทำได้โดยไม่ต้องฝืน เพราะถ้าแม่ต้องเหนื่อยมากกับการปั๊ม ร่างกายก็คงไม่สามารถจะผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องปั๊มนมถ้าหากว่ามันจะเป็นภาระกับคุณมากเกินไป
  5. แก้ปัญหาการดูดนมของทารก เลิกใช้จุกนมปลอม (อ่านเพิ่มได้ใน ให้นมเสริมอย่างถูกวิธี)

การใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม
ดอมเพอริโดนช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ดีภายใต้สถานการณ์ต่อไปนี้
  • แม่ซึ่งปั๊มนมให้ทารกที่ป่วยหรือคลอดก่อนกำหนดซึ่งอยู่ในโรงพยาบาล มักประสบปัญหาปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ลดลงเมื่อทารกคลอดมาได้ 4-5 สัปดาห์ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ (ไม่ได้ให้ทารกดูดกระตุ้นทันทีหลังคลอด ทารกไม่ได้อยู่กับแม่ และอื่น ๆ) ดอมเพอริโดนมักใช้ได้ผลในการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ให้กลับเข้าสู่ระดับปกติ หรือเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
  • เมื่อแม่มีปริมาณน้ำนมลดลงซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ยาคุมกำเนิด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดซึ่งมีส่วนประกอบของเอสโตรเจน หรือห่วงอนามัยเพื่อการคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสเตอโรน (ชื่อทางการค้า Mirena) ระหว่างที่ยังให้นมลูก
ดอมเพอริโดนยังใช้ได้ผล ถึงแม้จะไม่มากเท่ากับสองกรณีข้างต้นเมื่อ
  • แม่ซึ่งปั๊มนมให้ลูกที่ป่วยหรือคลอดก่อนกำหนด แต่ยังปั๊มได้ไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของลูก
  • แม่ที่รับบุตรบุญธรรมและให้นมแม่ และกำลังพยายามเพิ่มปริมาณน้ำนม
  • แม่ที่กำลังพยายามเลิกให้นมผง

ผลข้างเคียงจากการใช้ดอมเพอริโดน
ดอมเพอริโดนก็เช่นเดียวกับยาทุกชนิดคืออาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ได้ (ข้อมูลในตำรามักระบุผลข้างเคียงทุกอย่างที่เคยมีผู้รายงานไว้ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากยาที่ใช้หรือไม่ก็ได้) ไม่มียาอะไรในโลกที่ปลอดภัย 100% แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน ผลข้างเคียงของดอมเพอริโดนนอกเหนือจากการเพิ่มปริมาณน้ำนมนั้นพบได้น้อยมาก ผลข้างเคียงซึ่งคุณแม่ที่เคยได้รับยานี้รายงานไว้ (ซึ่งพบน้อยมาก ๆ) ได้แก่
  • อาการปวดหัว ซึ่งมักจะหายไปเองภายใน 2-3 วันหลังลดปริมาณยาที่ใช้ลง (อาการนี้น่าจะเป็นผลข้างเคียงที่พบมากที่สุด)
  • อาการปวดเกร็งท้อง
  • ปากแห้ง
  • รอบประจำเดือนเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่วนใหญ่มักพบว่าประจำเดือนขาดหายไป แต่ก็เป็นไปได้ว่าอาจมีอาการประจำเดือนมาผิดปกติ อย่างไรก็ตามการให้นมแม่ก็มักจะมีผลยับยั้งไม่ให้มีประจำเดือนเป็นเวลาหลายเดือนอยู่แล้ว
  • เคยมีรายงานจากคุณแม่ซึ่งได้รับดอมเพอริโดนเป็นเวลานาน โดยส่วนใหญ่มากกว่า 1 ปี ว่ามีอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ ไม่อยากรับประทานอาหาร ภายหลังหยุดใช้ยาอย่างกระทันหัน
ปริมาณยาซึ่งเข้าสู่น้ำนมแม่มีน้อยมาก ทำให้ทารกไม่น่าจะได้รับผลข้างเคียงจากยานี้ ไม่เคยมีรายงานจากคุณแม่ที่เราให้คำปรึกษาว่าทารกมีอาการซึ่งน่าจะเกิดจากผลข้างเคียงของดอมเพอริโดน ปริมาณยาที่ได้รับผ่านทางน้ำนมเป็นเปอร์เซ็นต์น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณยาที่คุณหมอสั่งจ่ายเมื่อทารกมีอาการอาเจียน และดอมเพอริโดนเป็นยาที่ใช้กันบ่อยในการรักษาอาการสำรอกอาหารของทารกด้วย
การใช้ดอมเพอริโดนมีผลอะไรในระยะยาวหรือไม่
มีรายงานจากผู้ผลิตถึงผลการทดลองใช้ดอมเพอริโดนในหนูทดลองต่อเนื่องกันนาน ๆ ว่าส่งผลให้จำนวนหนูที่เป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น แต่ยังระบุด้วยว่าไม่มีรายงานผลข้างเคียงดังกล่าวในมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การศึกษาผลกระทบของยามักทำโดยให้ยาแก่สัตว์ทดลองในปริมาณสูงต่อเนื่องเกือบทั้งช่วงหรือตลอดชีวิตของมัน นอกจากนี้
มีผลการศึกษาว่าการที่ผู้หญิงไม่ให้นมแม่เพิ่มโอกาสของการเป็นมะเร็งเต้านม แต่ในทางตรงกันข้าม โอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมจะลดลงตามระยะเวลาการให้นมแม่ ยิ่งไปกว่านั้น ในแคนาดายังมีการใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมมามากกว่า 20 ปีแล้ว
การใช้ดอมเพอริโดน
โดยทั่วไปเราเริ่มจากการให้ดอมเพอริโดนปริมาณ 30 มิลลิกรัม (ยา 10 มิลลิกรัม 3 เม็ด) 3 ครั้งต่อวัน ในบางกรณีอาจให้ได้มากถึง 40 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน ผู้ผลิตยามักระบุให้รับประทานดอมเพอริโดนก่อนอาหารเป็นเวลา 30 นาที แต่กรณีนี้เป็นการใช้ยาเพื่อรักษาปัญหาระบบย่อยอาหาร
อย่างไรก็ดี ร่างกายจะดูดซึมดอมเพอริโดนในดีกว่าเวลาท้องว่าง คุณสามารถรับประทานยาได้ทุก ๆ 8 ชั่วโมงเมื่อไรก็ได้ตามแต่จะสะดวก (ไม่จำเป็นต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อรับประทานยา มันไม่ช่วยให้เกิดความแตกต่างอะไรมากมายนัก) คุณแม่ส่วนใหญ่ได้รับดอมเพอริโดนเป็นเวลา 3-8 สัปดาห์ แต่บางคนก็อาจต้องใช้นานกว่านั้น หรือบางคนอาจไม่สามารถรักษาปริมาณน้ำนมเอาไว้ได้เลยเมื่อหยุดยา
ผู้ที่ให้นมแก่บุตรบุญธรรมอาจจำเป็นต้องได้รับยาเป็นเวลานานกว่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารก็มักได้รับดอมเพอริโดนเป็นเวลานานหลาย ๆ ปีเช่นกัน
หลังเริ่มใช้ดอมเพอริโดน อาจต้องใช้เวลา 3 หรือ 4 วันจึงจะเห็นผล แต่คุณแม่บางคนก็อาจเห็นผลภายใน 24 ชั่วโมง และอาจต้องใช้เวลานาน 2-3 สัปดาห์จึงจะเห็นผลสูงสุด อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางคนอาจจะสังเกตเห็นผลของมันหลังใช้ยามากกว่า 4 สัปดาห์ไปแล้ว จึงควรทดลองใช้ดอมเพอริโดนอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือทางที่ดีก็ 6 สัปดาห์ก่อนจึงจะสามารถสรุปได้ว่ามันใช้ได้ผลหรือไม่

หยุดใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone)
สามารถใช้ดอมเพอริโดนได้เป็นระยะเวลานานแค่ไหน
เมื่อมีการจ่ายดอมเพอริโดนให้ทารกเพื่อรักษาอาการป่วย (เนื่องจากตอนนี้ซิสสาไพรด์ – Cisapride ถูกนำออกจากตลาดไปแล้ว ดอมเพอริโดนจึงถูกนำมาใช้อีกครั้ง) มักมีการให้ยาแก่ทารกเป็นเวลาหลายเดือนหรือนานกว่านั้น และเนื่องจากปริมาณยาซึ่งเข้าสู่น้ำนมแม่น้อยมาก จึงไม่มีข้อควรกังวลหากแม่จะใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมเป็นระยะเวลานานหลายเดือน
จากประสบการณ์ของผู้เขียน พบผลข้างเคียงของดอมเพอริโดนน้อยมาก และถึงพบก็มักจะเป็นอาการเพียงเล็กน้อย ประสบการณ์จากการใช้ยานี้ทั่วโลกมานานกว่าสองทศวรรษก็พบผลข้างเคียงระยะยาวน้อยมากเช่นกัน คุณแม่ที่มาหาเราบางคนซึ่งให้นมแก่บุตรบุญธรรมที่รับมาเลี้ยงได้รับยานี้เป็นระยะเวลานานถึง 18 เดือนโดยไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ และดังที่เคยกล่าวมาแล้วในหัวข้อ เริ่มใช้ดอมเพอริโดนผู้ป่วยซึ่งใช้ดอมเพอริโดนรักษาอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอาจได้รับยานี้เป็นเวลานานหลายปี เราหวังเช่นกันว่าคุณจะไม่ต้องใช้ยานี้เป็นเวลานานนัก แต่ถ้าจำเป็นและมันช่วยคุณได้ คุณก็ควรจะทานยานี้อย่างต่อเนื่อง
นานแค่ไหนการใช้ดอมเพอริโดนจึงจะเห็นผล
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ในกรณีที่แม่เคยมีน้ำนมมากแต่ลดลงเนื่องจากเหตุผลบางอย่าง (เช่นรับประทานยาคุมกำเนิด) การใช้ดอมเพอริโดนมักได้ผลอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่จะสังเกตเห็นความแตกต่างภายใน 1-2 วัน (ทารกก็จะรู้สึกได้เช่นเดียวกัน) แต่ก็อาจไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป หลายครั้งที่ต้องใช้เวลา 1 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นจึงจะสังเกตเห็นผล ในบางกรณี เราพบว่าคุณแม่บางคนเริ่มมีปริมาณน้ำนมเพิ่มมากขึ้นหลังได้รับยาเป็นเวลา 1 เดือนขึ้นไป ดังนั้น เรามักแนะนำให้คุณแม่รับประทานดอมเพอริโดนเป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนจะสรุปว่ามันได้ผลหรือไม่
ผู้เขียนเชื่อว่าดอมเพอริโดนใช้ได้ผลดีเมื่อใช้หลังจากคุณแม่คลอดบุตรแล้ว 2-3 สัปดาห์ (ส่วนใหญ่แล้วคือประมาณ 4 สัปดาห์) ตรงนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนนอกจากที่มีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี ดังนั้น เราจึงมักรอจนกว่าทารกจะมีอายุอย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนจึงเริ่มจ่ายยานี้ให้แก่คุณแม่ เนื่องจากเหตุผลหลักคือเราไม่ต้องการให้คุณแม่หมดกำลังใจเมื่อไม่เห็นปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าคุณตระหนักถึงเหตุผลตรงนี้แล้ว การใช้ดอมเพอริโดนก่อนทารกอายุ 3-4 สัปดาห์ก็เป็นอะไรที่น่าทดลอง เพราะบางครั้งการใช้ยาแต่เนิ่น ๆ ก็ได้ผลดี

จะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้ดอมเพอริโดนนานแค่ไหน
โดยทั่วไปเราจะให้คุณแม่ลองใช้ยาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์และประเมินผลดู ผลลัพธ์อาจเป็นไปได้หลายอย่าง
  • ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นมากจนไม่ต้องให้นมผสมแก่ทารกอีกต่อไป หรือคุณแม่สามารถหยุดให้นมผสมได้โดยที่ทารกยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี
  • ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับที่คุณแม่พอใจ ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่อาจยังต้องให้นมผสมบ้าง แต่ทารกก็ไม่แสดงอาการหงุดหงิดเวลาดูดนมแม่อีกต่อไป
  • ปริมาณน้ำนมไม่เพิ่มหรือเพิ่มน้อยมาก การใช้ยาต่ออีกระยะหรือเพิ่มปริมาณยาขึ้นอาจช่วยได้
ในกรณีแรก (หรือในบางกรณีอื่น) เราอาจแนะนำให้คุณแม่ลองเลิกใช้ดอมเพอริโดนดูโดยวิธีต่อไปนี้
  1. เมื่อคุณพร้อมจะเลิกใช้ดอมเพอริโดน ลดยาลง 1 เม็ดก่อน คือแทนที่จะทานยาวันละ 9 เม็ด ให้ลดลงเหลือวันละ 8 เม็ด
  2. รอ 4-5 วันหรือ 1 สัปดาห์ก็ได้ ถ้าปริมาณน้ำนมยังไม่เปลี่ยนแปลง ลดยาลงอีก 1 เม็ด
  3. รออีก 4-5 วัน ถ้าปริมาณน้ำนมยังไม่เปลี่ยนแปลง ลดยาลงอีก 1 เม็ด
  4. ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าคุณจะเลิกทานยาไปในที่สุด ตราบใดที่ปริมาณน้ำนมไม่ลดลงหรือลดลงไม่มาก และทารกยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี
  • อย่างไรก็ตาม ถ้าปริมาณน้ำนมลดลงมาก กลับไปใช้ยาปริมาณที่เคยได้ผลกับคุณมาแล้ว และใช้ต่อไปโดยไม่ลดยาลงเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ถ้าคุณยังต้องการเลิกใช้ดอมเพอริโดน หลังใช้ยาปริมาณเดิมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ลดยาลงวันละ 1 เม็ดเหมือนขั้นตอนข้างต้น คุณแม่บางคนซึ่งทดลองหยุดใช้ยาแล้วไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก สามารถทำได้สำเร็จในครั้งที่ 2 หรือ 3
  • คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยาปริมาณหนึ่งเพื่อรักษาปริมาณน้ำนม แต่การทำตามขั้นตอนที่ 1-4 นี้จะช่วยให้คุณหาปริมาณยาขั้นต่ำที่ให้ผลดีสำหรับคุณได้
ถ้าคุณใช้ดอมเพอริโดนครบ 2 สัปดาห์แล้วปริมาณน้ำนมยังไม่เพิ่มมากถึงระดับที่ต้องการ ควรลองใช้ยาต่อเนื่องไปอีกช่วงหนึ่ง หากคุณใช้ยาไปแล้วระหว่าง 2-6 สัปดาห์แล้วปริมาณน้ำนมยังไม่มากพออีก อาจต้องพิจารณาว่าควรใช้ยาต่อไปอีกหรือไม่ ถ้าคุณให้นมผสมอยู่ด้วย และการใช้ยาช่วยให้คุณลดปริมาณนมผสมจากวันละ 400 มล. เป็น 300 มล. (14 ออนซ์เป็น 10 ออนซ์) คุ้มหรือไม่ที่จะยังคงใช้ยาต่อไป สำหรับผู้เขียนคิดว่าคุ้ม แต่ตรงนี้ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองที่จะเป็นคนตอบ
ถ้าคุณคิดว่าคุ้ม ให้ทานดอมเพอริโดนต่อ แต่ให้ลดปริมาณยาลงตามขั้นตอนข้างบนจนเหลือระดับที่เหมาะสมสำหรับคุณที่จะรักษาปริมาณน้ำนมเอาไว้ ถ้าคุณคิดว่าไม่คุ้ม ลองลดปริมาณยาตามขั้นตอนข้างบนดู ซึ่งถ้าคุณพบว่ามันไม่ทำให้ปริมาณน้ำนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ให้หยุดยา แต่ถ้าปริมาณน้ำนมคุณลดลงอย่างมากระหว่างที่คุณลดปริมาณยาลง บางทีดอมเพอริโดนอาจมีส่วนช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณมากกว่าที่คุณคิดก็ได้ (จำไว้ว่าเมื่อทารกอายุมากขึ้น น้ำหนักมากขึ้น แทนที่จะต้องการนมเพิ่มเพียง 400 มล. (14 ออนซ์) เท่าเดิม เขาอาจจะต้องการนมเพิ่มขึ้นเป็น 20 ออนซ์เพื่อให้น้ำหนักยังคงอยู่ในเกณฑ์ก็ได้ ซึ่งในกรณีนี้จะเห็นว่าดอมเพอริโดนช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้พอสมควรทีเดียว)
พึงระลึกไว้ว่า ก่อนใช้ดอมเพอริโดน ต้องแก้ปัญหาการให้นมที่สาเหตุอื่นให้เร็วที่สุดก่อน หมายความว่า
  • ให้นมด้วยท่าที่ถูกต้อง แค่นี้ก็อาจช่วยให้เด็กได้รับน้ำนมมากเพียงพอแล้วก็ได้
  • ใช้การนวดกระตุ้นเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับ
  • ให้นมข้างหนึ่งให้หมดก่อนจึงให้อีกข้าง
  • ถ้าทารกยังไม่อิ่ม สลับไปให้นมอีกข้างเมื่อน้ำนมไม่มีแล้วแม้จะนวดกระตุ้นช่วย
  • สลับให้นมไปมาทั้งสองข้างตราบเท่าที่ทารกยังได้รับน้ำนมมากพอ
  • ดูคำแนะนำเพิ่มเติมใน  Protocol to Manage Breastmilk Intake. 

Written and revised (under other nam

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น