หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เครื่องช่วยหายใจเขียว

http://thethanika.blogspot.com/2012/09/birds-respirator.html

การตั้งเครื่องช่วยหายใจชนิด Bird's Respirator

Bird's Respirator 

เป็นเครื่องช่วยหายใจ ชนิด ควบคุมด้วย ความดัน (Pressure cycled ventilator) การทำงานแต่ละครั้งช่วงหายใจเข้าสิ้นสุดเมื่อถึงความดันที่ตั้งไว้ 


Tidal volume ที่ผู้ป่วยได้รับขึ้นกับแรงต้านทานของทางเดินหายใจและปอด




สีเขียว Exspiratory time control
สีน้ำเงิน Inspiratory control
สีเหลืองคือ Inspiratory pressure
สีม่วงคือ Sensitivity control
สีชมพูคือ Air Mix selector
สีแดงคือ Pressure Gauge
สีดำคือ บริเวณท่อสำหรับต่อ ออกซิเจน ใกล้กันตรงขาวมือเป็นสวิทซ์ปิดเปิด
จาก http://www.phimaimedicine.org/2009/11/177-respirator-bird.html






ขั้นตอนการตั้งเครื่องช่วยหายใจชนิด Bird's Respirator 



1. หมุนปุ่ม BIRD'S ทั้ง 4 ปุ่มไปที่ 12 นาฬิกา

2. เปิดปุ่ม on-off ไปที่ on

3. ตั้ง Inspiratory pressure ให้ได้ 15-20 cmH2O โดยปรับปุ่ม pressure limit

4.ปรับปุ่ม inspiratory flow rate ถ้าหมุนไปทาง increase คือเพิ่มระยะเวลาของการหายใจเข้า ถ้าหมุนไปทาง decrease ระยะเวลาการหายใจเข้าจะสั้นลง ปรับจนได้เสียงหายใจเข้านานครั้งละ 1.5 วินาที

5.ปรับ Inspiratory pressure จนได้ tidal volume ที่ต้องการ มักใช้ 10 x นน.เป็นกก. เช่นหนัก 50 กก. ก็ตั้ง tidal volume 500 cc  เมื่อปรับ Inspiratory pressure จะทำให้ระยะเวลาการหายใจเข้าเปลี่ยนไป ดังนั้นทุกครั้งที่ ปรับ Inspiratory pressure ต้อง ปรับ ปุ่ม inspiratory flow rate เพื่อให้ได้ระยะเวลาการหายใจเข้าเป็น 1.5-2.0 วินาที

6. ถ้าคนไข้ที่ได้ยาคลายกล้ามเนื้อและยังไม่ได้ reverse หรือ คนไข้ neuro ที่มีปัญหา apnea ไม่หายใจ ให้ตั้งเป็น Control Mode โดย ปรับปุ่ม Controlled Expiratory Time(แปลว่า ปุ่มควบคุมเวลาหายใจออก) ถ้าหมุนไปทาง Decrease อัตราการหายใจจะเร็วขึ้น ถ้าหมุนไปทาง Increase อัตราการหายใจจะช้าลง ให้ปรับจนกระทั่งมีอัตราการหายใจประมาณ 12-14 ครั้ง/นาที

7. ในคนไข้ที่พอหายใจได้แต่ไม่มีแรงพอจะหายใจเองทั้งหมด ให้ใช้ Mode Assist โดยปรับที่ปุ่ม Starting Effort ไว้ที่ 12 นาฬิกา จะได้ pressure trigger ที่ -2 cmH2O แต่ถ้าไม่ได้ให้ปรับ ปุ่ม Starting Effort จนได้ pressure trigger ที่ -2 cmH2O   (pressure trigger ที่ -2 cmH2O หมายถึง คนไข้ต้องออกแรงดึงเครื่องช่วยหายใจ -2 cmH2O เครื่องช่วยหายใจจึงจะจ่ายก๊าซให้)

8. ในการตั้ง Bird's เป็น Assist Mode(ตามข้อ7) นั้นมีความเสี่ยงต่อคนไข้อาจเสียชีวิตได้ ถ้าคนไข้มีอาการแย่ลงจากพยาธิสภาพของคนไข้เอง หรือ ได้รับยาแก้ปวดชนิดที่กดการหายใจ หรือได้รับยานอนหลับ เพราะ คนไข้จะไม่มีแรงดึงเครื่องช่วยหายใจจนถึง pressure ที่ -2 cmH2O ทำให้เครื่องไม่จ่ายก๊าซให้ คนไข้ก็เสียชีวิต

9. ดังนั้น Mode ที่ safety ที่สุดก็คือ Assist/Control Mode ซึ่งมีวิธีั้คือ ขั้นตอนแรก บิดปุ่ม Starting Effort ไปที่ 9 นาฬิกา ขั้นตอนที่สอง หมุนปุ่ม Controlled Expiratory Time ไปที่ 12 นาฬิกาอย่างรวดเร็ว นับ rate แล้วปรับปุ่ม Controlled Expiratory Time จนได้อัตราการหายใจ 12-14 ครั้ง/นาที ขั้นตอนที่สาม โยกปุ่ม Starting Effort ไปที่ 12 นาฬิกาเหมือนเดิม ผลก็คือ Bird's จะทำงานโดย คนไข้หายใจช้า เครื่องก็ตีช้าแต่ไม่ต่ำกว่า 12 ครั้ง/นาที คนไข้หายใจเร็ว เครื่องจะตีเร็ว แต่จะไม่หยุดตีแน่นอน (ถ้าไม่มีคนไปปิด)

ขอบคุณ 
รศ.นพ. เทพกร  สาธิตเทพมณี เป็นอย่างสูงค่ะ
http://www.phimaimedicine.org/2009/11/177-respirator-bird.html 

แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม
http://thethanika.blogspot.com/2010/09/blog-post_15.html 
http://medequip.st.mahidol.ac.th/File_Upload/P08.pdf 
http://www.researchers.in.th/blogs/posts/4208 
http://www.si.mahidol.ac.th/km/checklogin_star.asp?st_id=81 
http://medi.moph.go.th/traning/crose/medicu/ICU/Ventilator_Setting.pdf

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แบบสอบถาม แรงจูงใจ ขวัญกำลังใจและความพึงพอใจของทีมเยี่ยมบ้าน

แบบสอบถาม แรงจูงใจ ขวัญกำลังใจและความพึงพอใจของทีมเยี่ยมบ้าน
คำชี้แจง
           แบบสอบถามแรงจูงใจขวัญกำลังใจและความพึงพอใจของทีมเยี่ยมบ้านผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านสร้างจากแนวคิดของHerzberg เพื่อศึกษาความคิดเห็นของทีมเยี่ยมบ้านผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านและประเมินผลลัพธ์ของกระบวนการบริหารจัดการด้านบุคลากรในประเด็นเกี่ยวข้องกับแรงจูงใจขวัญกำลังใจและความพึงพอใจในการทำงานผู้ตอบแบบสอบถามชุดนี้คือทีมเยี่ยมบ้านผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน  แบบสอบถามชุดนี้ แบ่งออกเป็น 4 ตอนได้แก่
ตอนที่ 1  ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม      
ตอนที่ 2  ระดับแรงจูงใจขวัญกำลังใจและความพึงพอใจในการทำงานของทีมเยี่ยมบ้านผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ        
        1. ระดับความคิดเห็นในความสำคัญด้านแรงจูงใจขวัญกำลังใจในแต่ละประเด็นของการสอบถาม
        2. ความคิดเห็นด้านความพึงพอใจในการทำงานแต่ละประเด็นของการสอบถาม                     
ตอนที่ 3 ความคิดจะโอน /ย้ายหรือลาออกจากงาน                                       
ตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะอื่นๆ                                     
           ขอความร่วมมือทุกท่านในการตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริง    ข้อมูลนี้จะนำมาวิเคราะห์ในภาพรวมของทีมสุขภาพผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อท่าน          แต่สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการบุคลากรให้มีความสุขในการทำงานดูแลผู้ป่วยที่บ้านซึ่งจะส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น    
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1. เพศ             (   )  ชาย                (   )  หญิง                                   
   อายุ             (   )  ต่ำกว่า 20 ปี      (   )  21-30 ปี     (   )  31-40 ปี         (   )  41-50 ปี   (   )  51 ปี ขึ้นไป        
2. หน่วยงานที่ปฏิบัติงาน                                                                             
           (   ) โรงพยาบาลศูนย์         (   ) โรงพยาบาลทั่วไป                           
           (   ) โรงพยาบาลชุมชน       (   ) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล                    


3. ทีมสหสาขาวิชาชีพ                                                                                           
           (   ) แพทย์                (   ) พยาบาลวิชาชีพ    
           (   ) ผู้ช่วยเหลือคนไข้    (   ) นวก.สาธารณสุข                      
           (   ) ทันตแพทย์           (   ) เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข                           
           (   ) เภสัชกร              (   ) จพง.เภสัชกรรมชุมชน                
           (   ) โภชนากร            (   ) จพง.สาธารณสุข                                         
           (   ) นักกายภาพบำบัด   (   ) นักกิจกรรมบำบัด  
           (   ) นัก/ช่างกายอุปกรณ์          (   ) นักเทคนิคการแพทย์                  
           (   ) แพทย์แผนไทย      (   ) ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย                  
           อื่นๆระบุ.......................................................................                                                   
4. ประเภท                                                                                                      
           (   ) ข้าราชการ            (   ) พนักงานของรัฐ             
           (   ) ลูกจ้างประจำ       (   ) ลูกจ้างชั่วคราว                                                     
5. ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในตำแหน่งปัจจุบัน ( เศษของปีมากกว่า 6 เดือน คิดเป็น 1 ปี )             
           (   ) ต่ำกว่า 1 ปี           (   ) 2-3 ปี    (   ) 4-5 ปี                                
           (   ) 6-10 ปี       (   ) 11 ปี ขึ้นไป      




ตอนที่ 2 ระดับแรงจูงใจ ขวัญกำลังใจและความพึงพอใจในการทำงาน ของทีมเยี่ยมบ้านผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
คำชี้แจง  กรุณาทำเครื่องหมาย üลงในช่องระดับความสำคัญของแรงจูงใจ ขวัญกำลังใจ และระดับความพึงพอใจ     ที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุดเพียงช่องเดียว
ข้อที
ประเด็นสอบถาม

คำถามแรงจูงใจขวัญกำลังใจ
ระดับ
มากที่สุด
มาก
1.
ความสำเร็จในงานที่ปฏิบัติ         
ข้าพเจ้าเห็นว่าความสำเร็จในงานที่ปฏิบัติจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญกำลังใจในการทำงาน      


2.
การได้รับการยอมรับนับถือ
ข้าพเจ้าเห็นว่าการได้รับการยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน ผู้บริหาร จูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญกำลังใจในการทำงาน


3.
ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน 
         

ข้าพเจ้าเห็นว่าการได้รับความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญกำลังใจในการทำงาน   


4.
หน้าที่ความรับผิดชอบ
ข้าพเจ้าเห็นว่าหน้าที่ความรับผิดชอบจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญกำลังใจในการทำงาน      




ข้าพเจ้าพึงพอใจในความสำเร็จของงานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติ




ข้าพเจ้าพึงพอใจในการได้รับความยอมรับนับถือจากผู้ร่วมงาน ผู้บริหาร  




ข้าพเจ้าพึงพอใจในความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานของข้าพเจ้า




ข้าพเจ้าพึงพอใจในหน้าที่ความรับผิดชอบของข้าพเจ้า


5.
ภาระงานที่เหมาะสม
ข้าพเจ้าเห็นว่าภาระงานที่ได้รับจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน







ข้อที
ประเด็นสอบถาม

คำถามแรงจูงใจขวัญกำลังใจ
ระดับ
มากที่สุด
มาก
6.
นโยบายในการพัฒนาบุคลากร/งาน
         
ข้าพเจ้าเห็นว่านโยบายการพัฒนาบุคลากร/งานจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญกำลังใจในการทำงาน


7.
การบริหารงานที่เป็นธรรม
ข้าพเจ้าเห็นว่าการบริหารงานที่เป็นธรรมจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญกำลังใจในการทำงาน


8.
การมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงาน/ผู้บริหาร         

ข้าพเจ้าเห็นว่าการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงาน/ผู้บริหารจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญกำลังใจในการทำงาน


9.
รายได้/ค่าตอบแทนต่างๆ 
ข้าพเจ้าเห็นว่ารายได้/ค่าตอบแทนต่างๆจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน


10.
สวัสดิการที่นอกเหนือจากรายได้/ค่าตอบแทน     
ข้าพเจ้าเห็นว่าสวัสดิการที่นอกเหนือจากรายได้/ค่าตอบแทนจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน   




ข้าพเจ้าพึงพอใจในภาระงานที่เหมาะสมของข้าพเจ้า          




ข้าพเจ้าพึงพอใจในนโยบายการพัฒนาบุคลากร/งานของผู้บริหาร




ข้าพเจ้าพึงพอใจในการบริหารงานที่เป็นธรรม




ข้าพเจ้าพึงพอใจในสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ร่วมงาน/ผู้บริหาร         




ข้าพเจ้าพึงพอใจในรายได้/ค่าตอบแทนต่างๆที่ข้าพเจ้าได้รับในปัจจุบัน




ข้าพเจ้าพึงพอใจในสวัสดิการนอกเหนือจากรายได้/ค่าตอบแทนที่ข้าพเจ้าได้รับในปัจจุบัน


11.
ความมั่นคงของหน้าที่การงาน     

ข้าพเจ้าเห็นว่าความมั่นคงของหน้าที่การงานจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน


12.
โอกาสความก้าวหน้าในงาน        
ข้าพเจ้าเห็นว่าโอกาสความก้าวหน้าในงานจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญกำลังใจในการทำงาน




ข้อที
ประเด็นสอบถาม

คำถามแรงจูงใจขวัญกำลังใจ
ระดับ
มากที่สุด
มาก
13.
สภาพแวดล้อมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่เพียงพอเหมาะสม/ปลอดภัย        
ข้าพเจ้าเห็นว่าสภาพแวดล้อมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่เพียงพอเหมาะสมจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน    


14.
ความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว

ข้าพเจ้าเห็นว่า ความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวจูงใจให้ข้าพเจ้าเกิดขวัญกำลังใจในการทำงาน




ข้าพเจ้าพึงพอใจในความมั่นคงของหน้าที่การงานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติในปัจจุบัน         




ข้าพเจ้าพึงพอใจในโอกาสความก้าวหน้าในงานของข้าพเจ้า     




ข้าพเจ้าพึงพอใจในสภาพแวดล้อมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่เพียงพอเหมาะสม/ปลอดภัย




ข้าพเจ้าพึงพอใจในความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวของข้าพเจ้า  












ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในงาน ความคิดจะขอปรับเปลี่ยน/ย้ายหรือลาออกจากงานการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
15. ขณะนี้ท่านมีความพึงพอใจต่อการทำงานของทีมเยี่ยมบ้านผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านอย่างไร  
           (   ) พึงพอใจมากที่สุด    (   ) พึงพอใจมาก         (   ) พึงพอใจปานกลาง                      
           (   ) พึงพอใจน้อย        (   ) ไม่พึงพอใจ                                                                  
16. ขณะนี้ท่านมีความคิดที่จะขอปรับเปลี่ยนหรือลาออกจากทีมเยี่ยมบ้าน ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านอยู่หรือไม่      
           (   ) ไม่เคยมีความคิดนี้เลย       (   ) คิดอยู่บ้างบางเวลา       (   ) คิดถึงเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา           
17. ขณะนี้ท่านมีความคิดที่จะลาออกจากทีมเยี่ยมบ้านผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านอยู่หรือไม่                  
           (   ) ไม่เคยมีความคิดนี้เลย         (   ) คิดอยู่บ้างบางเวลา  (   ) คิดถึงเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา      
ตอนที่ 4  ข้อเสนอแนะอื่นๆ                                                                         
..................................................................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................        


หมายเหตุ - แบบสอบถามนี้ ปรับปรุงจากแบบสอบถามความพึงพอใจบุคลากรทางการพยาบาล   ของสำนักการพยาบาล    กระทรวงสาธารณสุขและจากแบบสอบถาม  แรงจูงใจ ขวัญกำลังใจและความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากร   สุขภาพ   กระทรวงสาธารณสุข