หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

ยาเพิ่มน้ำนม

ยาเพิ่มน้ำนม Domperidone
เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone)

บทนำ
ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ที่ต่อมใต้สมองผลิตขึ้น โปรแลคตินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ในเต้านมของแม่ผลิตน้ำนม ดอมเพอริโดนมีส่วนช่วยเพิ่มฮอร์โมนโปรแลคตินทางอ้อม โดยเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานของโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารที่มีผลยับยั้งการผลิตโปรแลคตินของต่อมใต้สมอง
โดยทั่วไปดอมเพอริโดนถูกนำไปใช้รักษาอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ไม่ใช่เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะนำไปใช้ไม่ได้ เพียงแค่ผู้ผลิตยาไม่ได้รับรองการนำไปใช้เพื่อผลในการสร้างน้ำนมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีผลการศึกษาหลายแห่งที่สนับสนุนว่ามันช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม และเป็นยาที่มีความปลอดภัยเพียงพอ ในอดีตมันเคยถูกนำไปใช้กับทารกซึ่งอาเจียนและน้ำหนักลด แต่เคยถูกแทนที่โดยยาซิสสาไพรด์ (Cisapride หรือ Prepulsid) อยู่พักหนึ่ง (ซิสสาไพรด์ถูกยกเลิกการใช้ไป เนื่องจากมันอาจก่อให้เกิดปัญหากับหัวใจของผู้ใช้อย่างรุนแรง)
ดอมเพอริโดนไม่ใช่ยาตระกูลเดียวกันกับซิสสาไพรด์ ยาอีกตัวหนึ่งซึ่งมีมานานกว่าคือเมโทโคลพาไมด์ (Metoclopramide หรือ Maxeran หรือ Reglan) ก็เป็นยาที่รู้จักกันว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่เป็นยาที่มักก่อให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งทำให้การนำไปใช้กับแม่ที่ให้นมลูกไม่เป็นที่ยอมรับ (เหนื่อยล้า หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า) ดอมเพอริโดนมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามากเนื่องจากปริมาณยาที่เข้าสู่สมองไม่มาก (ยาไม่ซึมผ่านแนวกั้นสมอง Blood-brain Barrier)
ในเดือนมิถุนายน ปี 2004 องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ออกประกาศเตือนการใช้ดอมเพอริโดน ว่าอาจมีผลข้างเคียงต่อหัวใจ ทั้ง ๆ ที่ผลข้างเคียงนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเป็นการให้ยาเข้าสู่เส้นเลือดแก่ผู้ป่วยหนักเท่านั้น ตลอดหลายปีที่ผ่านมาซึ่ง ผู้เขียน (Dr.Jack Newman) ได้จ่ายดอมเพอริโดนให้แก่แม่ซึ่งให้นมลูก ไม่เคยพบว่ามีผลข้างเคียงต่อหัวใจซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากดอมเพอริโดน
อีกประการหนึ่ง องค์การอาหารและยาของสหรัฐไม่ได้มีอำนาจการควบคุมนอกอาณาเขตสหรัฐ แม้กระทั่งในสหรัฐเอง การผลิตยาให้คนไข้เฉพาะบุคคล (Compounding Pharmacies) ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอาหารและยาสหรัฐ ก็ยังคงให้ดอมเพอริโดนแก่ผู้ป่วยอยู่ ผู้อ่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเอกสารเรื่องดอมเพอริโดนขององค์การอาหารและยาสหรัฐ
เมื่อไรจึงควรใช้ดอมเพอริโดน
ไม่ควรใช้ดอมเพอริโดนเป็นทางออกแรกสุดเมื่อมีปัญหาในการให้นมลูก ดอมเพอริโดนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาทุกเรื่อง จึงควรนำไปใช้ควบคู่กับการปรับแก้ปัจจัยซึ่งอาจส่งผลให้น้ำนมไม่เพียงพออื่น ๆ ไปด้วย
แล้วมีอะไรบ้างล่ะที่ควรทำไปพร้อม ๆ กัน
  1. สัมผัสลูกให้มากที่สุด ทั้งระหว่างการให้นมและเวลาอื่น ๆ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง สัมผัสรักระหว่างแม่-ลูก)
  2. ปรับท่าในการให้นมให้ถูกต้อง เพื่อให้ทารกดูกน้ำนมจากเต้าได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บางครั้งแค่การปรับท่าทางให้ถูกต้องก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดได้แล้ว
  3. ใช้การนวดกระตุ้นเต้านมเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับ (อ่านเพิ่มได้ใน การบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม)
  4. ถ้าคุณให้นมแม่อย่างเดียวโดยไม่ได้ให้นมผงเพิ่ม ลองปั๊มนมหลังมื้อนมดู การบีบน้ำนมนมด้วยมือซัก 2-3 นาทีหลังมื้อนมอาจช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้เป็นอย่างดี คุณแม่บางคนอาจเลือกใช้ปั๊มขนาดใหญ่ที่ใช้ตามโรงพยาบาลปั๊มนมต่ออีก 10-15 นาทีหลังมื้อนมก็ได้ แต่วิธีนี้อาจได้ผลดีเฉพาะกับแค่บางคนเท่านั้น ทำเท่าที่คุณพอจะทำได้โดยไม่ต้องฝืน เพราะถ้าแม่ต้องเหนื่อยมากกับการปั๊ม ร่างกายก็คงไม่สามารถจะผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องปั๊มนมถ้าหากว่ามันจะเป็นภาระกับคุณมากเกินไป
  5. แก้ปัญหาการดูดนมของทารก เลิกใช้จุกนมปลอม (อ่านเพิ่มได้ใน ให้นมเสริมอย่างถูกวิธี)

การใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม
ดอมเพอริโดนช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ดีภายใต้สถานการณ์ต่อไปนี้
  • แม่ซึ่งปั๊มนมให้ทารกที่ป่วยหรือคลอดก่อนกำหนดซึ่งอยู่ในโรงพยาบาล มักประสบปัญหาปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ลดลงเมื่อทารกคลอดมาได้ 4-5 สัปดาห์ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ (ไม่ได้ให้ทารกดูดกระตุ้นทันทีหลังคลอด ทารกไม่ได้อยู่กับแม่ และอื่น ๆ) ดอมเพอริโดนมักใช้ได้ผลในการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ให้กลับเข้าสู่ระดับปกติ หรือเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
  • เมื่อแม่มีปริมาณน้ำนมลดลงซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ยาคุมกำเนิด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดซึ่งมีส่วนประกอบของเอสโตรเจน หรือห่วงอนามัยเพื่อการคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสเตอโรน (ชื่อทางการค้า Mirena) ระหว่างที่ยังให้นมลูก
ดอมเพอริโดนยังใช้ได้ผล ถึงแม้จะไม่มากเท่ากับสองกรณีข้างต้นเมื่อ
  • แม่ซึ่งปั๊มนมให้ลูกที่ป่วยหรือคลอดก่อนกำหนด แต่ยังปั๊มได้ไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของลูก
  • แม่ที่รับบุตรบุญธรรมและให้นมแม่ และกำลังพยายามเพิ่มปริมาณน้ำนม
  • แม่ที่กำลังพยายามเลิกให้นมผง

ผลข้างเคียงจากการใช้ดอมเพอริโดน
ดอมเพอริโดนก็เช่นเดียวกับยาทุกชนิดคืออาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ได้ (ข้อมูลในตำรามักระบุผลข้างเคียงทุกอย่างที่เคยมีผู้รายงานไว้ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากยาที่ใช้หรือไม่ก็ได้) ไม่มียาอะไรในโลกที่ปลอดภัย 100% แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน ผลข้างเคียงของดอมเพอริโดนนอกเหนือจากการเพิ่มปริมาณน้ำนมนั้นพบได้น้อยมาก ผลข้างเคียงซึ่งคุณแม่ที่เคยได้รับยานี้รายงานไว้ (ซึ่งพบน้อยมาก ๆ) ได้แก่
  • อาการปวดหัว ซึ่งมักจะหายไปเองภายใน 2-3 วันหลังลดปริมาณยาที่ใช้ลง (อาการนี้น่าจะเป็นผลข้างเคียงที่พบมากที่สุด)
  • อาการปวดเกร็งท้อง
  • ปากแห้ง
  • รอบประจำเดือนเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่วนใหญ่มักพบว่าประจำเดือนขาดหายไป แต่ก็เป็นไปได้ว่าอาจมีอาการประจำเดือนมาผิดปกติ อย่างไรก็ตามการให้นมแม่ก็มักจะมีผลยับยั้งไม่ให้มีประจำเดือนเป็นเวลาหลายเดือนอยู่แล้ว
  • เคยมีรายงานจากคุณแม่ซึ่งได้รับดอมเพอริโดนเป็นเวลานาน โดยส่วนใหญ่มากกว่า 1 ปี ว่ามีอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ ไม่อยากรับประทานอาหาร ภายหลังหยุดใช้ยาอย่างกระทันหัน
ปริมาณยาซึ่งเข้าสู่น้ำนมแม่มีน้อยมาก ทำให้ทารกไม่น่าจะได้รับผลข้างเคียงจากยานี้ ไม่เคยมีรายงานจากคุณแม่ที่เราให้คำปรึกษาว่าทารกมีอาการซึ่งน่าจะเกิดจากผลข้างเคียงของดอมเพอริโดน ปริมาณยาที่ได้รับผ่านทางน้ำนมเป็นเปอร์เซ็นต์น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณยาที่คุณหมอสั่งจ่ายเมื่อทารกมีอาการอาเจียน และดอมเพอริโดนเป็นยาที่ใช้กันบ่อยในการรักษาอาการสำรอกอาหารของทารกด้วย
การใช้ดอมเพอริโดนมีผลอะไรในระยะยาวหรือไม่
มีรายงานจากผู้ผลิตถึงผลการทดลองใช้ดอมเพอริโดนในหนูทดลองต่อเนื่องกันนาน ๆ ว่าส่งผลให้จำนวนหนูที่เป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น แต่ยังระบุด้วยว่าไม่มีรายงานผลข้างเคียงดังกล่าวในมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การศึกษาผลกระทบของยามักทำโดยให้ยาแก่สัตว์ทดลองในปริมาณสูงต่อเนื่องเกือบทั้งช่วงหรือตลอดชีวิตของมัน นอกจากนี้
มีผลการศึกษาว่าการที่ผู้หญิงไม่ให้นมแม่เพิ่มโอกาสของการเป็นมะเร็งเต้านม แต่ในทางตรงกันข้าม โอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมจะลดลงตามระยะเวลาการให้นมแม่ ยิ่งไปกว่านั้น ในแคนาดายังมีการใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมมามากกว่า 20 ปีแล้ว
การใช้ดอมเพอริโดน
โดยทั่วไปเราเริ่มจากการให้ดอมเพอริโดนปริมาณ 30 มิลลิกรัม (ยา 10 มิลลิกรัม 3 เม็ด) 3 ครั้งต่อวัน ในบางกรณีอาจให้ได้มากถึง 40 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน ผู้ผลิตยามักระบุให้รับประทานดอมเพอริโดนก่อนอาหารเป็นเวลา 30 นาที แต่กรณีนี้เป็นการใช้ยาเพื่อรักษาปัญหาระบบย่อยอาหาร
อย่างไรก็ดี ร่างกายจะดูดซึมดอมเพอริโดนในดีกว่าเวลาท้องว่าง คุณสามารถรับประทานยาได้ทุก ๆ 8 ชั่วโมงเมื่อไรก็ได้ตามแต่จะสะดวก (ไม่จำเป็นต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อรับประทานยา มันไม่ช่วยให้เกิดความแตกต่างอะไรมากมายนัก) คุณแม่ส่วนใหญ่ได้รับดอมเพอริโดนเป็นเวลา 3-8 สัปดาห์ แต่บางคนก็อาจต้องใช้นานกว่านั้น หรือบางคนอาจไม่สามารถรักษาปริมาณน้ำนมเอาไว้ได้เลยเมื่อหยุดยา
ผู้ที่ให้นมแก่บุตรบุญธรรมอาจจำเป็นต้องได้รับยาเป็นเวลานานกว่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารก็มักได้รับดอมเพอริโดนเป็นเวลานานหลาย ๆ ปีเช่นกัน
หลังเริ่มใช้ดอมเพอริโดน อาจต้องใช้เวลา 3 หรือ 4 วันจึงจะเห็นผล แต่คุณแม่บางคนก็อาจเห็นผลภายใน 24 ชั่วโมง และอาจต้องใช้เวลานาน 2-3 สัปดาห์จึงจะเห็นผลสูงสุด อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางคนอาจจะสังเกตเห็นผลของมันหลังใช้ยามากกว่า 4 สัปดาห์ไปแล้ว จึงควรทดลองใช้ดอมเพอริโดนอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือทางที่ดีก็ 6 สัปดาห์ก่อนจึงจะสามารถสรุปได้ว่ามันใช้ได้ผลหรือไม่

หยุดใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone)
สามารถใช้ดอมเพอริโดนได้เป็นระยะเวลานานแค่ไหน
เมื่อมีการจ่ายดอมเพอริโดนให้ทารกเพื่อรักษาอาการป่วย (เนื่องจากตอนนี้ซิสสาไพรด์ – Cisapride ถูกนำออกจากตลาดไปแล้ว ดอมเพอริโดนจึงถูกนำมาใช้อีกครั้ง) มักมีการให้ยาแก่ทารกเป็นเวลาหลายเดือนหรือนานกว่านั้น และเนื่องจากปริมาณยาซึ่งเข้าสู่น้ำนมแม่น้อยมาก จึงไม่มีข้อควรกังวลหากแม่จะใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมเป็นระยะเวลานานหลายเดือน
จากประสบการณ์ของผู้เขียน พบผลข้างเคียงของดอมเพอริโดนน้อยมาก และถึงพบก็มักจะเป็นอาการเพียงเล็กน้อย ประสบการณ์จากการใช้ยานี้ทั่วโลกมานานกว่าสองทศวรรษก็พบผลข้างเคียงระยะยาวน้อยมากเช่นกัน คุณแม่ที่มาหาเราบางคนซึ่งให้นมแก่บุตรบุญธรรมที่รับมาเลี้ยงได้รับยานี้เป็นระยะเวลานานถึง 18 เดือนโดยไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ และดังที่เคยกล่าวมาแล้วในหัวข้อ เริ่มใช้ดอมเพอริโดนผู้ป่วยซึ่งใช้ดอมเพอริโดนรักษาอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอาจได้รับยานี้เป็นเวลานานหลายปี เราหวังเช่นกันว่าคุณจะไม่ต้องใช้ยานี้เป็นเวลานานนัก แต่ถ้าจำเป็นและมันช่วยคุณได้ คุณก็ควรจะทานยานี้อย่างต่อเนื่อง
นานแค่ไหนการใช้ดอมเพอริโดนจึงจะเห็นผล
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ในกรณีที่แม่เคยมีน้ำนมมากแต่ลดลงเนื่องจากเหตุผลบางอย่าง (เช่นรับประทานยาคุมกำเนิด) การใช้ดอมเพอริโดนมักได้ผลอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่จะสังเกตเห็นความแตกต่างภายใน 1-2 วัน (ทารกก็จะรู้สึกได้เช่นเดียวกัน) แต่ก็อาจไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป หลายครั้งที่ต้องใช้เวลา 1 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นจึงจะสังเกตเห็นผล ในบางกรณี เราพบว่าคุณแม่บางคนเริ่มมีปริมาณน้ำนมเพิ่มมากขึ้นหลังได้รับยาเป็นเวลา 1 เดือนขึ้นไป ดังนั้น เรามักแนะนำให้คุณแม่รับประทานดอมเพอริโดนเป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนจะสรุปว่ามันได้ผลหรือไม่
ผู้เขียนเชื่อว่าดอมเพอริโดนใช้ได้ผลดีเมื่อใช้หลังจากคุณแม่คลอดบุตรแล้ว 2-3 สัปดาห์ (ส่วนใหญ่แล้วคือประมาณ 4 สัปดาห์) ตรงนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนนอกจากที่มีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี ดังนั้น เราจึงมักรอจนกว่าทารกจะมีอายุอย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนจึงเริ่มจ่ายยานี้ให้แก่คุณแม่ เนื่องจากเหตุผลหลักคือเราไม่ต้องการให้คุณแม่หมดกำลังใจเมื่อไม่เห็นปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าคุณตระหนักถึงเหตุผลตรงนี้แล้ว การใช้ดอมเพอริโดนก่อนทารกอายุ 3-4 สัปดาห์ก็เป็นอะไรที่น่าทดลอง เพราะบางครั้งการใช้ยาแต่เนิ่น ๆ ก็ได้ผลดี

จะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้ดอมเพอริโดนนานแค่ไหน
โดยทั่วไปเราจะให้คุณแม่ลองใช้ยาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์และประเมินผลดู ผลลัพธ์อาจเป็นไปได้หลายอย่าง
  • ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นมากจนไม่ต้องให้นมผสมแก่ทารกอีกต่อไป หรือคุณแม่สามารถหยุดให้นมผสมได้โดยที่ทารกยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี
  • ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับที่คุณแม่พอใจ ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่อาจยังต้องให้นมผสมบ้าง แต่ทารกก็ไม่แสดงอาการหงุดหงิดเวลาดูดนมแม่อีกต่อไป
  • ปริมาณน้ำนมไม่เพิ่มหรือเพิ่มน้อยมาก การใช้ยาต่ออีกระยะหรือเพิ่มปริมาณยาขึ้นอาจช่วยได้
ในกรณีแรก (หรือในบางกรณีอื่น) เราอาจแนะนำให้คุณแม่ลองเลิกใช้ดอมเพอริโดนดูโดยวิธีต่อไปนี้
  1. เมื่อคุณพร้อมจะเลิกใช้ดอมเพอริโดน ลดยาลง 1 เม็ดก่อน คือแทนที่จะทานยาวันละ 9 เม็ด ให้ลดลงเหลือวันละ 8 เม็ด
  2. รอ 4-5 วันหรือ 1 สัปดาห์ก็ได้ ถ้าปริมาณน้ำนมยังไม่เปลี่ยนแปลง ลดยาลงอีก 1 เม็ด
  3. รออีก 4-5 วัน ถ้าปริมาณน้ำนมยังไม่เปลี่ยนแปลง ลดยาลงอีก 1 เม็ด
  4. ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าคุณจะเลิกทานยาไปในที่สุด ตราบใดที่ปริมาณน้ำนมไม่ลดลงหรือลดลงไม่มาก และทารกยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี
  • อย่างไรก็ตาม ถ้าปริมาณน้ำนมลดลงมาก กลับไปใช้ยาปริมาณที่เคยได้ผลกับคุณมาแล้ว และใช้ต่อไปโดยไม่ลดยาลงเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ถ้าคุณยังต้องการเลิกใช้ดอมเพอริโดน หลังใช้ยาปริมาณเดิมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ลดยาลงวันละ 1 เม็ดเหมือนขั้นตอนข้างต้น คุณแม่บางคนซึ่งทดลองหยุดใช้ยาแล้วไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก สามารถทำได้สำเร็จในครั้งที่ 2 หรือ 3
  • คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยาปริมาณหนึ่งเพื่อรักษาปริมาณน้ำนม แต่การทำตามขั้นตอนที่ 1-4 นี้จะช่วยให้คุณหาปริมาณยาขั้นต่ำที่ให้ผลดีสำหรับคุณได้
ถ้าคุณใช้ดอมเพอริโดนครบ 2 สัปดาห์แล้วปริมาณน้ำนมยังไม่เพิ่มมากถึงระดับที่ต้องการ ควรลองใช้ยาต่อเนื่องไปอีกช่วงหนึ่ง หากคุณใช้ยาไปแล้วระหว่าง 2-6 สัปดาห์แล้วปริมาณน้ำนมยังไม่มากพออีก อาจต้องพิจารณาว่าควรใช้ยาต่อไปอีกหรือไม่ ถ้าคุณให้นมผสมอยู่ด้วย และการใช้ยาช่วยให้คุณลดปริมาณนมผสมจากวันละ 400 มล. เป็น 300 มล. (14 ออนซ์เป็น 10 ออนซ์) คุ้มหรือไม่ที่จะยังคงใช้ยาต่อไป สำหรับผู้เขียนคิดว่าคุ้ม แต่ตรงนี้ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองที่จะเป็นคนตอบ
ถ้าคุณคิดว่าคุ้ม ให้ทานดอมเพอริโดนต่อ แต่ให้ลดปริมาณยาลงตามขั้นตอนข้างบนจนเหลือระดับที่เหมาะสมสำหรับคุณที่จะรักษาปริมาณน้ำนมเอาไว้ ถ้าคุณคิดว่าไม่คุ้ม ลองลดปริมาณยาตามขั้นตอนข้างบนดู ซึ่งถ้าคุณพบว่ามันไม่ทำให้ปริมาณน้ำนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ให้หยุดยา แต่ถ้าปริมาณน้ำนมคุณลดลงอย่างมากระหว่างที่คุณลดปริมาณยาลง บางทีดอมเพอริโดนอาจมีส่วนช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณมากกว่าที่คุณคิดก็ได้ (จำไว้ว่าเมื่อทารกอายุมากขึ้น น้ำหนักมากขึ้น แทนที่จะต้องการนมเพิ่มเพียง 400 มล. (14 ออนซ์) เท่าเดิม เขาอาจจะต้องการนมเพิ่มขึ้นเป็น 20 ออนซ์เพื่อให้น้ำหนักยังคงอยู่ในเกณฑ์ก็ได้ ซึ่งในกรณีนี้จะเห็นว่าดอมเพอริโดนช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้พอสมควรทีเดียว)
พึงระลึกไว้ว่า ก่อนใช้ดอมเพอริโดน ต้องแก้ปัญหาการให้นมที่สาเหตุอื่นให้เร็วที่สุดก่อน หมายความว่า
  • ให้นมด้วยท่าที่ถูกต้อง แค่นี้ก็อาจช่วยให้เด็กได้รับน้ำนมมากเพียงพอแล้วก็ได้
  • ใช้การนวดกระตุ้นเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับ
  • ให้นมข้างหนึ่งให้หมดก่อนจึงให้อีกข้าง
  • ถ้าทารกยังไม่อิ่ม สลับไปให้นมอีกข้างเมื่อน้ำนมไม่มีแล้วแม้จะนวดกระตุ้นช่วย
  • สลับให้นมไปมาทั้งสองข้างตราบเท่าที่ทารกยังได้รับน้ำนมมากพอ
  • ดูคำแนะนำเพิ่มเติมใน  Protocol to Manage Breastmilk Intake. 

Written and revised (under other nam

แนวทางการรักษาโรคมาลาเรีย ปี 2556

https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&uact=8&sqi=2&ved=0CB8QFjAA&url=http%3A%2F%2Fwww.rcpt.org%2Findex.php%2F2012-10-03-16-53-39%2Fcategory%2F6-2013-02-02-09-02-52.html%3Fdownload%3D132%253A-2557&ei=QNYSVMTgJIK9ugTU14CwBg&usg=AFQjCNHiFDN0V60urRhxBqcP2qf_RZU4Gw&sig2=pIvjW_q6eFRcjbC6iz8v-w&bvm=bv.75097201,d.c2E

ควรกินยาป้องกันโรคมาลาเรียเมื่อต้องเดินทางเข้าป่าหรือไม่ ?

ควรกินยาป้องกันเมื่อต้องเดินทางเข้าป่าหรือไม่ ?
การกินยาก่อนเข้าแหล่งระบาดมาลาเรีย ไม่ได้ช่วยป้องกันโรคมาลาเรียแต่อย่างใด เนื่องจากเชื้อมาลาเรียในประเทศไทยดื้อต่อยาหลายขนาน ทำให้ไม่มียาที่มีประสิทธิภาพสูง มีฤทธิ์ข้างเคียงน้อยและเหมาะสมที่จะใช้เป็นยารับประทานป้องกันมาลาเรียสำหรับประชาชนทั่วไป การกินยาเป็นเพียงแต่กดอาการไว้เท่านั้น เมื่อหยุดกินยาเชื้อจะออกมาในกระแสเลือดและเกิดอาการของโรคได้อีก ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้กินยาป้องกัน แต่ให้เน้นมาตรการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัดด้วยวิธีต่างๆดังข้างต้น และควรจะรีบเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรียเมื่อมีอาการไข้หรืออาการอื่นที่สงสัยว่าอาจเป็นไข้มาลาเรียภายใน7-14วัน หรือภายใน1-2เดือนหลังจากเดินทางออกจากแหล่งระบาด
ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปอยู่หรือต้องเข้าไปทำงานในบริเวณแหล่งระบาดนั้นๆเป็นเวลานาน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อสูง อาจต้องกินยาป้องกัน แต่ไม่รับรองผลการป้องกัน 100 % โดยเลือกกินยาเพียงชนิดใดเพียงชนิดหนึ่ง ดังนี้
1.  ยาเมโฟลควิน (mefloquine) เม็ดละ 250 มิลลิกรัม กินสัปดาห์ละ 1 เม็ด โดยเริ่มกิน 1 สัปดาห์ก่อนจะเดินทางและกินติดต่อกันไปเรื่อย ๆ ทุกสัปดาห์ จนกระทั่งเดินทางกลับมาอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์
2.  ยาดอกซี่ไซคลิน (doxycycline) เม็ดละ 100 มิลลิกรัม กินวันละ 1 เม็ด เริ่มกิน 3-5 วันก่อนเดินทาง กินติดต่อกันทุกวัน จนกระทั่งเดินทางออกมาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
เหตุผลที่ไม่ควรกินยาป้องกันโรคมาลาเรีย
1.  ความเสี่ยงในการติดเชื้อมาลาเรียจากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยมีน้อยมาก ความชุกของมาลาเรียในประเทศไทยน้อยลงมาก โดยเฉพาะถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วยแล้ว โอกาสติดน้อยมาก คือนักท่องเที่ยว 10,000 คน จะติดเพียง 1 คน เท่านั้น
2.  ปัจจุบันในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน พบปัญหาการดื้อยามาลาเรียมาก ทำให้การกินยาป้องกันมาลาเรีย ไม่สามารถป้องกันได้ 100 % และการกินยาอาจทำให้อาการของโรคมาลาเรียไม่ชัดเจน และทำให้เกิดปัญหาดื้อยาอย่างมากในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นคนกินยาเองอาจจะเชื่อมั่นผิดๆว่ากินยาแล้วไม่เป็นมาลาเรียเลยไม่ไปพบหมอ ทำให้การวินิจฉัยและการรักษายุ่งยากมากขึ้น  ซึ่งอาจเสียชีวิตได้
3.  ถ้าจะกินยาป้องกันมาลาเรียจริงๆ ต้องกินยาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นยาเมโฟลควิน (mefloquine) หรือ ด๊อกซี่ไซคลิน (doxycycline) ต้องกินหลังจากออกจากป่าอีกประมาณ 1 เดือน คนที่ไปเที่ยวป่า เช่นเขาใหญ่ก็ประมาณ 3-4 วัน หรือไม่เกินหนึ่งสัปดาห์  แต่ต้องกินยาป้องกันมาลาเรียเป็นเดือน จึงมีน้อยคนที่จะกินยาต่อโดยไม่มีอาการ ซึ่งจะก่อให้เชื้อพัฒนาการดื้อยานั้นๆในอนาคต นอกจากนื้ยังมีโอกาสเแพ้ยาหรือเกิดผลข้างเคียงได้
4.  ปัจจุบันในประเทศไทยมีการบริการด้านสาธารณสุขเป็นอย่างดี มีคลินิกมาลาเรียกระจายอยู่ในแหล่วระบาดทั่วประเทศ มีโรงพยาบาลและสถานีอนามัยอยู่ทั่วไป อีกทั้งการคมนาคมก็ดีขึ้นมาก  เวลามีอาการไข้เกิดขึ้น ก็สามารถไปหาหมอได้ทัน ทำให้วินิจฉัยและรักษาได้ทันการ
จากเหตุผลหลักๆทั้ง 4 ข้อ ทำให้ ไม่แนะนำให้กินยาป้องกันมาลาเรียในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย  แต่ถ้าต้องเดินทางไปประเทศอื่นที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ประเทศแถบแอฟริกา ปาบัวนิกีนี ฯลฯ ควรต้องมาพบแพทย์เพื่อพิจารณากินยาป้องกันชนิดที่เหมาะสม
การรักษา  
การรักษามาลาเรีย แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
1.  การรักษาจำเพาะ คือการให้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรียที่เป็นระยะไร้เพศในเม็ดเลือดแดง การเลือกชนิดของยารักษา ควรพิจารณาประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อมาลาเรีย เนื่องจากการดื้อยาของเชื้อมาลาเรียในพื้นที่ต่างๆมีความแตกต่างกัน
2.  ถ้าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ หรือพลาสโมเดียม โอวาเล่ ต้องได้รับยาฆ่าระยะฮิบโนซอยต์ด้วย เพื่อการรักษาหายขาด
3.  การบำบัดอาการและภาวะแทรกซ้อน คือ การบำบัดอาการและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยยังมีเชื้อมาลาเรีย หรือภายหลังที่เชื้อมาลาเรียหมดแล้ว   โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ติดเชื้อพลาสโมเดียม  ฟัลซิพารัม ถ้าได้รับการรักษาช้าไป จะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าชนิดอื่นๆ
4.  การป้องกันการแพร่โรค คือ การใช้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรียระยะติดต่อไปสู่ยุง คือระยะแกมมีโตไซต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่อยู่ในท้องที่ที่มียุงพาหะ
ข้อพึงจำไว้เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อมาลาเรียเมื่อเข้าไปในเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย
1.  อย่าให้ยุงกัด
2.  ไม่กินยาป้องกัน
3.  กลับออกมาจากแหล่งระบาดหรือในพื้นที่มี่คนเคยติดเชื้อมาลาเรียแล้ว เกิดมีอาการไข้  ปวดศีรษะ ห้ามซื้อยารับประทานเอง ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจติดเชื้อมาลาเรีย ควรไปพบแพทย์ เจาะเลือดจากปลายนื้วเพื่อตรวจหาเชื้อและจำแนกชนิดของเชื้อ(เนื่องจากใช้ยาต่างชนิดกัน) เพื่อที่จะได้รับการรักษาด้วยยาที่ถูกต้องเหมาะสมและทันท่วงที  แม้ว่าผลการตรวจครั้งแรกจะให้ผลลบต่อเชื้อมาลาเรีย แต่ถ้ามีอาการดังกล่าวขึ้นภายในเวลา 1-2 เดือน และอาการที่เกิดขึ้นได้รับการวินิจฉัยแล้วไม่ได้มีสาเหตุจากเชื้ออื่นๆ ขอแนะนำให้ไปตรวจหาเชื้อมาลาเรียซ้ำอีกครั้ง



วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

ยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552


ยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ยาที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ยาที่ใช้ในโรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Antiplatelets) ซึ่งในที่นี้จะขอเน้นยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ได้แก่


Aspirin ( แอสไพริน ) 

อาการข้างเคียง :
1.ตัวยาอาจระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้องหรืออาเจียนหลังรับประทาน บางรายอาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารเพราะ ฉะนั้นไม่ควรรับประทานยาในขณะท้องว่าง ควรรับประทานยาหลังอาหารทันที หรือหลังดื่มนม และควรดื่มน้ำตามมาก ๆ ภายหลังรับประทานยา2.ยานี้อาจทำให้เลือดออกง่าย เนื่องจากทำให้การเกาะตัวของเกล็ดเลือด (Platelets Aggregation) ลดลง จึงควรระวังในผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีเลือดออก เช่น ไข้เลือดออก โรคเลือดต่าง ๆ 


ข้อควรระวัง :1. ในผู้ที่มีอาการแพ้ยานี้ โดยอาจมีผื่นคันหรือลมพิษขึ้น ถ้าแพ้มาก ๆ อาจมีหอบหืดหรือชัก ซึ่งหากพบอาการดังกล่าวให้หยุดยาทันที แล้วให้รีบมาพบแพทย์ และไม่ควรรับประทานยานี้อีกอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้อีก
2.ถ้าใช้ขนาดมากเกินไปจะเป็นพิษ ทำให้มีอาการมึนงง ใจสั่น หูอื้อ หากเป็นรุนแรงอาจชัก ซึมจนถึงไม่รู้สึกตัว ดังนั้น จึงควรรับประทานยาให้ถูกต้องตามที่แพทย์สั่งและเก็บยาไว้ให้มิดชิด พ้นจากมือเด็ก3. ไม่ควรใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส เพราะอาจทำให้เกิดโรคเรย์ซินโดรม (Reye's Syndrome)ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้4.ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เพราะอาจทำให้ตกเลือดได้ง่าย และอาจทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับทารกได้ 



Clopidogrel ( โคลพิโดเกรล ) 
ผลข้างเคียงจากยา :
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักสามารถทนต่ออาการข้างเคียงของยาได้ดี โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อย ก็เช่นเดียวกับยาต้านเกล็ดเลือดอื่น ๆคือการมีเลือดออกผิดปกติ และอาจพบอาการท้องเสีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แผลในทางเดินอาหาร และกลุ่มอาการอาหารไม่ย่อย
ข้อควรระวัง :

ผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของภาวะตกเลือดที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น ภาวะเลือดออกในสมอง 





2. ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulants) ในที่นี้จะขอเน้นเฉพาะยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ได้แก่


Warfarin ( วาฟาริน ) 
ผลข้างเคียงจากยา :อาการข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ภาวะเลือดออก (bleeding) ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการหยุดยาหรือการลดขนาดยาลง หากมีอาการเลือดออกที่ไม่รุนแรง 

ข้อควรระวัง : 
ยานี้ห้ามใช้ในระหว่างตั้งครรภ์




3.ยาสลายลิ่มเลือด (Thrombolytics หรือ Fibrinolytics) ได้แก่ Streptokinase , Urokinase , Alteplase (tissue plasminogen activator, rt-PA) 
ซึ่งมักบริหารยาโดยการฉีดในผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 



คำแนะนำในการใช้ยาโรคหลอดเลือดสมอง


1. อ่านฉลากยาให้เข้าใจก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
2. รับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
3. ควรหยุดยาก่อน 7 วันที่จะไปผ่าตัดหรือถอนฟัน
4. หากมีอาการผิดปกติใดๆ หลังได้รับยาเช่น มีเลือดออกผิดปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด มีจ้ำเลือดเกิดขึ้นตามตัว หรือมีเลือดออกตามไรฟันมากผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
5. หากได้รับยาอื่นรับประทานร่วมด้วยควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
6. อาหารเสริมบางชนิดมีผลทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยากลุ่มนี้ได้ เช่น แปะก๊วย กระเทียม เลซิทิน น้ำมันปลา วิตามินอี เป็นต้น ดังนั้น หากจะรับประทานอาหารเสริมใดควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง หากมีอาการแพ้ยา เช่น ผื่นคัน บวม ต้องหยุดยา และมาพบแพทย์

. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและพบบ่อย ของประเทศไทย เป็นสาเหตุที่สำคัญอันดับ 1 ของการเสียชีวิตในเพศหญิงและอันดับ 2 ในเพศชาย ร้อยละ 70 ของผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการพูด การสื่อสาร และ ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยจะมีความพิการซึ่งต้องอาศัยการดูแลช่วยเหลือ จากผู้อื่นตลอดชีวิต โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร ? โรคซึ่งเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ที่ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทอย่างเฉียบพลัน เป็นอยู่นานมากกว่า 24 ชั่วโมง หรือ เสียชีวิต 

ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 

1. โรคหลอดเลือดสมองแตก พบได้ประมาณร้อยละ 20 - 30 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด
2.โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน พบได้ประมาณร้อยละ 70 - 80 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

1.โรคความดันโลหิตสูง
2. สูบบุหรี่
3.โรคเบาหวาน
4.โรคหัวใจ
5.ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง
6.โรคอ้วน
7.ดื่มสุราปริมาณมากๆ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุ เชื้อชาติ ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด

อาการสำคัญ
ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทันทีทันใด ดังต่อไปนี้
- แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง
- แขนขาชาซีกใดซีกหนึ่ง
- ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด
- ตามัว หรือ ตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งหรือเห็นภาพซ้อนสองทันทีทันใด
- ปวดศีรษะรุนแรง เฉียบพลันและ อาเจียนพุ่ง - เวียนศีรษะอย่างรุนแรง เดินเซ เสียการทรงตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ข้างต้น
อาการแสดง
แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งทันทีทันใด แขนขาชาซีกใดซีกหนึ่งทันทีทันใด








ตามัว หรือ ตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งหรือเห็นภาพซ้อนสองทันทีทันใด















ปากเบี้ยว พูดไม่ชัดทันทีทันใด








ปวดศีรษะรุนแรง เฉียบพลันและ อาเจียนพุ่ง








เวียนศีรษะอย่างรุนแรง เดินเซ เสียการทรงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดร่วมอาการอื่นข้างต้น





“อาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทันทีทันใด”
การปฏิบัติเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

-หยุดกิจกรรมทุกอย่างที่กำลังทำอยู่
-ให้นอนราบเพื่อป้องกันการหกล้มบาดเจ็บที่ศีรษะ
-ในผู้ป่วยที่หมดสติ ให้ตะแคงตัวหรือหันหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก
-รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลทันทีไม่ว่าจะมีอาการหนักหรือเบา
หากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการรักษารวดเร็วเท่าใดจะยิ่งเป็นการหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อสมองแบบยาวนานได้

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
ขึ้นอยู่กับชนิด ความรุนแรง และระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการโดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาเร็วเท่าใด ความพิการและอัตราการตายจะลดลงมากเท่านั้น

1. การรักษาทางยา เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือดในโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาและสารน้ำรักษาสมองบวม เป็นต้น
2. การผ่าตัดในรายที่อาการ ซึม หมดสติ และมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ในสมอง เป็นต้น
การรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง และโรคแทรกซ้อน
3. การรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพทางร่างกายผู้ป่วย ป้องกันโรคแทรกซ้อน โรคหลอดเลือดสมองมีโอกาสกลับเป็นซ้ำภายหลังการรักษา ผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องให้ความสำคัญต่อการป้องกันปัจจัยเสี่ยง

การป้องกันไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

1.งดสูบบุหรี่
2.งดดื่มสุรา
3.รับประทานผัก ผลไม้ เพื่อช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น
4.ดื่มน้ำมากๆ อย่ารับประทานอาหารมันๆ เพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบตัน
5.ถ้ามีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
6.อย่าเครียด อย่าโมโหง่าย อย่าคิดมาก
7.ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาทีอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
8.ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
9.ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
 ถ้าพบต้องรักษาและพบแพทย์สม่ำเสมอ










ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมองต่อร่างกายและจิตใจ

ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมองต่อร่างกายและจิตใจ

1. อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่งอาจเป็นทั้งแขนและขา
2.มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่น การนั่ง การยืน หรือเดินไม่ได้แม้ว่ากล้ามเนื้อจะยังคงแข็งแรง
3. ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารผู้ป่วยบางรายไม่สามารถพูด และไม่สามารถเข้าใจภาษาทั้งพูดและเขียน บางรายพูดไม่ได้แต่ฟังรู้เรื่อง บางรายพูดลำบาก
4.ผู้ป่วยบางรายไม่สนใจอวัยวะข้างใดข้างหนึ่งมักเกิดในผู้ป่วยที่อ่อนแรงข้างซ้าย
5. มีอาการชา หรือปวดข้างใดข้างหนึ่ง
6. ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความคิด และการเรียนรู้
7.ผู้ป่วยบางรายมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร
8.มีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
9.ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเหนื่อยง่าย
10.ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์แปรปรวนเช่น หัวเราะ หรือร้องไห้เสียงดัง
11.อารมณ์วิตกกังวลอาจพบได้ในระยะแรกของโรค เกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจว่า ตนเองป่วยเป็นโรคอะไร สาเหตุจากอะไร ต้องรักษาอย่างไร เสียค่าใช้จ่ายมากร้อยเท่าไร รักษาหายหรือไม่ ซึ่งอาจแสดงออกมาทางร่างกาย คือ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ พฤติกรรมถดถอย เรียกร้องความสนใจ ต้องการให้ช่วยเหลือทั้ง ๆ ที่สามารถทำได้
12.มีภาวะซึมเศร้าจากการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่นานทำให้ผู้ป่วยเกิดความเบื่อหน่าย สิ้นหวัง แยกตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เบื่อกิจกรรมทุกอย่าง ท้อแท้ อยากตาย ผู้ป่วยมักคิดว่าตนเองไม่มีโอกาส ไม่มีความหวังเป็นภาระของครอบครัว รู้สึกตนเองไม่มี
คุณค่า
13.พฤติกรรมต่อต้าน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ จะปฏิเสธการดูแลจากคนอื่น ไม่ยอมให้ช่วยเหลือ ไม่ยอมรับประทานยา หรือไม่ยอมให้ฉีดยา
14.พฤติกรรมก้าวร้าว ควบคุมตัวเองไม่ได้ เอาแต่ใจ เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองทันที ก็เกิดความโกรธ และแสดงความก้าวร้าวต่อผู้รักษาหรือญาติพี่น้อง
15.พฤติกรรมทางเพศเปลี่ยนแปลง เช่น เพิ่มขึ้นหรือลดลง
16.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เชื่อว่าทำให้อาการของโรคเลวลง เช่น ไม่กล้าทำงาน ไม่กล้าเดินทาง บางคนไม่อยากตกอยู่ในสภาพเจ็บป่วย ไม่มาพบแพทย์ตามนัด ไม่รับประทานยา ฯลฯ


วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

The Barthel Activity of Daily Living Index

แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

The Barthel Activity of Daily Living Index
ดัชนีบาร์เทล (The Barthel ADL Index) สร้างขึ้นโดย Mahonney และ Bathel เป็นแบบประเมินที่ใช้ในการประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการดูแลตนเองและการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพประกอบด้วย 10 กิจกรรม ได้แก่ การรับประทานอาหาร การหวีผม การลุกจากที่นอน การใช้ห้องสุขา การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ การอาบน้ำ การสวมใส่เสื้อผ้า การเคลื่อนที่ภายในบ้าน และการเดินขึ้นลงบันได 1 ชั้น (Wade, 1992) 


โดยมีคะแนนรวม 0-100 คะแนน และมีการแบ่งคะแนนระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันซึ่งเป็นคะแนนไม่ต่อเนื่องและคะแนนที่ได้จะอยู่ในช่วงคะแนนที่กำหนดไว้ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้


0-20 หมายถึง ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เลย
25-45 หมายถึง สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เล็กน้อย
50-70 หมายถึง สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ปานกลาง
75-95 หมายถึง สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้มาก
100 หมายถึง สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองทั้งหมด
 


1. feeding การรับประทานอาหาร
0 ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เอง ต้องป้อนอาหารให้ หรือรับอาหารทางสายยาง
5 ต้องมีผู้คอยดูแลช่วยเหลือในการเตรียมอาหาร เช่น ช่วยตัดหรือหั่นอาหาร
10 ช่วยตัวเองได้เมื่อเตรียมอาหารวางไว้ให้
2. Transfer การเคลื่อนย้าย 
0 ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
5 ต้องมีผู้ช่วยเหลือ 1-2 คน ในการเคลื่อนย้าย นั่งทรงตัวได้
10 เคลื่อนย้ายได้โดยมีผู้ช่วยเหลือ 1 คน คอยช่วยพยุงหรือชี้แนะ
15 สามารถลุกจากเตียง ที่นอน หรือเคลื่อนย้ายลงมาเก้าอี้เข็นและสามารถล๊อคล้อเก้าอี้เข็นได้
3. Mobility การเดินการเคลื่อนที่
0 เคลื่อนไหวไม่ได้
5 สามารถใช้เก้าอี้เข็น คลาน หรือถัดได้
10 เดินได้โดยมีคนช่วยพยุง 1 คน
15 เดินได้เอง โดยอาจใช้ไม้เท้า หรือเครื่องพยุงเดิน
4. Dressing การแต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้า0 ไม่สามารถแต่งตัวหรือสวมใส่เสื้อผ้าได้เอง
5 ต้องมีผู้ช่วยเหลือบางขั้นตอน
10 แต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้าได้
5. Bathing การอาบน้ำ เช็ดตัว0 ไม่สามารถอาบน้ำ หรือเช็ดตัว ดูแลความสะอาดของร่างกายได้ต้องการความช่วยเหลือ
ในบางขั้นตอน
5 สามารถอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายได้ ทั้งฟอกสบู่ ตักน้ำราดตัว หรือเช็ดตัวได้ทุกส่วน
6. Groming สุขวิทยาส่วนบุคคล0 ต้องพึ่งพาบุคคลอื่นทั้งหมดในการล้างหน้า แปรงฟัน หวีผม หรือโกนหนวด
5 สามารถล้างหน้า แปรงฟัน หวีผม โกนหนวดได้
7. Toilet use การใช้ห้องสุขา หรือกระโถน
0 ต้องพึ่งพาเกี่ยวกับการเข้า-ออกห้องสุขา หรือ การสอดดึงกระโถนรวมทั้งการถอด/
ใส่เสื้อผ้า การล้างทำความสะอาดหลังการขับถ่าย
5 ต้องการความช่วยเหลือในบางขั้นตอน
10 สามารถเข้า-ออก ห้องสุขา หรือการสอด-ดึงกระโถน รวมทั้งการถอด/สวมเสื้อผ้า
การล้างทำความสะอาดภายหลังจากการขับถ่าย
8. Bowels การควบคุมการถ่ายอุจจาระ
0 กลั้นไม่ได้ อุจจาระราด กระปริดกระปรอย หรือท้องผูก ต้องสวนอุจจาระให้
5 กลั้นได้เป็นส่วนใหญ่ แต่อาจกลั้นไม่ได้ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
หรือต้องการความช่วยเหลือในการสวนอุจจาระ
10 กลั้นได้ และ/หรือ ต้องสวนอุจจาระแต่สามารถทำได้เอง
9. Bladder การควบคุมการถ่ายปัสสาวะ
0 กลั้นไม่ได้ ถ่ายปัสสาวะกระปริดกระปรอย/ต้องสวนปัสสาวะหรือ
ดูแลเมื่อคาสายสวนปัสสาวะให้
5 กลั้นปัสสาวะไม่ได้ประมาณวันละ 1 ครั้ง และต้องการความช่วยเหลือให้การสวนปัสสาวะ
หรือดูแลเมื่อคาสายสวนปัสสาวะ
10 กลั้นได้ ไม่มีปัสสาวะกระปริดกระปรอย ในกรณีที่คาสายสวนปัสสาวะสามารถดูแลได้เอง
10. Stairs การขึ้นลงบันได
0 ไม่สามารถทำได้
5 ต้องการคนช่วยเหลือ
10 ขึ้นลงได้เอง (ถ้าต้องใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น walker จะต้องเอาขึ้นลงได้ด้วย)

การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง




โรคหลอดเลือดสมอง( cerebrovascular disease, stroke ) เป็นโรคที่พบบ่อยตลอดจนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและพิการที่สำคัญในประเทศไทย กล่าวคือ เป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับ 1ในเพศหญิงและอันดับ 2 ในเพศชายตามลำดับ นอกจากนี้ยังเป็นโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสีย ปีสุขภาวะ (Disability Adjusted Life Years ; DALYs ) ที่สำคัญอันดับ 2 ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ทั้งนี้โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน(Cerebrovascular disease) พบได้ประมาณร้อยละ 70 ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด


ประเด็นการเรียนรู้ที่สำคัญ (Key Learning Point )


1. การรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ควรให้การรักษา และแยกตามกลุ่ม


ผู้ป่วย ดังนี้


1.1 Acute period เป็นมาภายใน 3 ชั่วโมงแรก พิจารณาให้ Thrombolytic drug


1.2 Intermediate period เป็นมาภายใน 7 วัน แต่เกิน 3 ชั่วโมง พิจารณา Admit


1.3 Rehabilitation period เป็นมาหลัง 7 วัน พิจารณา ดูแลฟื้นฟูสภาพที่บ้าน


2. การให้ยาลดความดันโลหิต ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) (ประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ) แม้ว่าจะมีความดันโลหิตสูง ก็ไม่ควรให้ยาลดความดันโลหิต ซึ่งเป็นภาวะ Compensation ของร่างกาย และการให้ยาลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี (แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน สำหรับแพทย์ ) ยกเว้น มีข้อบ่งชี้เฉพาะ เช่นความดันซิสโตล่า > 220 mmHg. ความดันไดแอสโตล่า >120mmHg.,acute myocardial infarction , aortic dissection , acute renal failure , hypertensive encephalopathy ในกรณีจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต ไม่ควรใช้ Nifedipine sublingual เนื่องจากความดันโลหิตอาจลดลงอย่างมาก และมีผลให้สมองขาดเลือดมากยิ่งขึ้น

3. ควรให้ Aspirin ขนาด 160–300 มิลลิกรัม ทางปากภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการ หรือหลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล

4. ไม่ควรให้ Steroid เพื่อหวังผลในการลดภาวะสมองบวม เนื่องจากไม่ได้ผล และยังเพิ่ม ความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อน

5. ควรพิจารณาให้ Anticoagulant ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กรณีมีสาเหตุจากโรคหัวใจหรือหลอดเลือดที่คอและพยาธิ สภาพที่สมองมีขนาดไม่ใหญ่ ฯลฯ

6. ควรเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทุกราย



7. ไม่ควรให้น้ำเกลือในรูป 5 % glucose เพราะจะทำให้เกิดภาวะ lactic acid คั่งในสมอง ยกเว้นในรายที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดทุกราย


8. ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลรักษาภายใต้แนวทางหรือแผนการที่ได้รับการการวางแผนไว้
ล่วงหน้า เช่น Care map , pathway , Fast tract ด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ

9. การประเมินสภาพและความพร้อมของผู้ป่วย ด้วย Score , Scale ต่างๆ จะช่วยในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม เช่น
- Barthel Index เพื่อประเมินกิจวัตรประจำวัน
- Glasgow Coma Scale สำหรับการประเมิน Conscious ผู้ป่วย
- Ranking Scale สำหรับประเมิน Disability

10. การ Early ambulation ทันทีที่ผู้ป่วยพร้อม จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้
เช่น โรคปอดอักเสบ การเกิดแผลกดทับ

11. การช่วยเหลือผู้ป่วยฝึกเดิน จะต้องมีการประเมินความพร้อมและผู้ฝึกจะต้องมี
เทคนิคที่ดี เพื่อป้องกันผู้ป่วยหกล้ม การจัดเตรียมราวจับ และกระจกให้ฝึกเดิน
ที่หอผู้ป่วย

12. ผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำกายภาพ บำบัดที่ห้องกายภาพบำบัดได้ นักกายภาพบำบัดจะต้องมาค้นหาผู้ป่วยใหม่ได้เพื่อประเมินและวางแผน การทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องให้มีการส่งปรึกษาจะสามารถช่วยผู้ป่วยให้มี Early ambulation ได้เร็ว

13. การประเมินความพร้อมในการกลืนของผู้ป่วย ได้แก่ ก่อนฝึกกลืน จะไม่ Force ให้ผู้ป่วย กิน/กลืน ถ้าผู้ป่วยยังไม่พร้อม เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักได้ และควรฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการ หัดกินน้ำจากช้อนชาก่อน แล้วค่อยฝึกกลืนของเหลวที่ข้นขึ้นได้
14. ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute Stroke) ไม่ควร
ปล่อยให้มีไข้ เพราะจะเพิ่ม Brain damage ถ้ามีไข้ต้องรีบให้ยาลดไข้ และเช็ดตัวให้ไข้ลงทันที พร้อมทั้งรักษาสาเหตุของไข้

15. มีระบบการเตือน ไม่ให้ลืมพลิกตัว อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เช่น การลงบันทึก การกำหนด ท่านอน ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ทุก 2 ชั่วโมง เป็นต้น การจัดท่านอนอย่างถูกเทคนิค จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้คนจำนวนมากและฝึกให้ญาติสามารถช่วยเหลืออย่างถูกวิธีด้วย

16. การจัดให้มีที่นอนลม สามารถลดการเกิดแผลกดทับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้ห่วงยางกลม (โดนัท) รองก้น ไม่ช่วยลดการเกิดแผลกดทับแต่อาจทำให้ไปกดผิวหนังรอบๆ ทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดีด้วย

17. การใช้ของแข็งดันเท้าในผู้ป่วยที่มี Foot drop ตลอดเวลา ไม่ช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น แต่จะไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยมี Clonus มากขึ้น การนวดเบาๆ และจับข้อให้เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและป้องกันข้อติดได้

18. การจัดสิ่งแวดล้อมของหอผู้ป่วย ประกอบด้วย ป้ายเตือนการระวังพลัดตกหกล้ม ไม้กั้นเตียง ราวจับผนังห้อง มีห้องน้ำภายในหอผู้ป่วยที่ไม่ไกลจากเตียง โดยมีกริ่งสัญญาณภายในห้องน้ำ มีราวจับป้องกันการหกล้ม และมีโถส้วมแบบชักโคลก กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้เอง ญาติสามารถพาผู้ป่วยนั่งรถเข็นไปสวมเข้ากับส้วมชักโคลกได้พอดี การจัดสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ ในการจัดสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยที่บ้านในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย

19. การระบุ (Identify ) ญาติที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้านตัวจริงให้ได้ ( เนื่องจากอาจเป็นคนละคนกับที่เฝ้าอยู่โรงพยาบาล / มาเยี่ยม) และนำเข้า Home Program ที่ถูกต้อง จะช่วยเตรียมความพร้อมก่อน ผู้ป่วยกลับบ้านได้ดี และมีการดูแลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง

20. ควรมี Home Program ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ตามศักยภาพที่จะสามารถทำได้

21. ผู้ป่วยควรได้รับการประเมิน ตลอดจนพิจารณาทำกายภาพบำบัดทุกราย

22. ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการวินิจฉัยสุขภาพจิต และได้รับ Psychosupport จากแพทย์พยาบาลหรือนักจิตวิทยา โดยอาจเลือกใช้เทคนิค Self help group , Supporting group การให้คำปรึกษารายวัน เป็นต้น

23. ผู้ป่วยที่รอจำหน่ายทุกรายจะต้องมีการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
23.1 ให้การรักษาปัจจัยเสี่ยง และควบคุมปัจจัยเสี่ยง
23.2 พิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) กรณีที่ได้รับยา Anticoagulant ก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน ควรตรวจให้แน่ใจว่า อยู่ใน Therapeutic range (1.5 –2.5 เท่า)
23.3 ให้ความรู้ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ อาการของการกลับเป็นซ้ำ และข้อปฏิบัติตัวเมื่อกลับเป็นซ้ำ
23.4 ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น อ่อนแรงมากขึ้น ควรรีบมาโรงพยาบาล
23.5 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง