หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เครื่องช่วยหายใจเขียว

http://thethanika.blogspot.com/2012/09/birds-respirator.html

การตั้งเครื่องช่วยหายใจชนิด Bird's Respirator

Bird's Respirator 

เป็นเครื่องช่วยหายใจ ชนิด ควบคุมด้วย ความดัน (Pressure cycled ventilator) การทำงานแต่ละครั้งช่วงหายใจเข้าสิ้นสุดเมื่อถึงความดันที่ตั้งไว้ 


Tidal volume ที่ผู้ป่วยได้รับขึ้นกับแรงต้านทานของทางเดินหายใจและปอด




สีเขียว Exspiratory time control
สีน้ำเงิน Inspiratory control
สีเหลืองคือ Inspiratory pressure
สีม่วงคือ Sensitivity control
สีชมพูคือ Air Mix selector
สีแดงคือ Pressure Gauge
สีดำคือ บริเวณท่อสำหรับต่อ ออกซิเจน ใกล้กันตรงขาวมือเป็นสวิทซ์ปิดเปิด
จาก http://www.phimaimedicine.org/2009/11/177-respirator-bird.html






ขั้นตอนการตั้งเครื่องช่วยหายใจชนิด Bird's Respirator 



1. หมุนปุ่ม BIRD'S ทั้ง 4 ปุ่มไปที่ 12 นาฬิกา

2. เปิดปุ่ม on-off ไปที่ on

3. ตั้ง Inspiratory pressure ให้ได้ 15-20 cmH2O โดยปรับปุ่ม pressure limit

4.ปรับปุ่ม inspiratory flow rate ถ้าหมุนไปทาง increase คือเพิ่มระยะเวลาของการหายใจเข้า ถ้าหมุนไปทาง decrease ระยะเวลาการหายใจเข้าจะสั้นลง ปรับจนได้เสียงหายใจเข้านานครั้งละ 1.5 วินาที

5.ปรับ Inspiratory pressure จนได้ tidal volume ที่ต้องการ มักใช้ 10 x นน.เป็นกก. เช่นหนัก 50 กก. ก็ตั้ง tidal volume 500 cc  เมื่อปรับ Inspiratory pressure จะทำให้ระยะเวลาการหายใจเข้าเปลี่ยนไป ดังนั้นทุกครั้งที่ ปรับ Inspiratory pressure ต้อง ปรับ ปุ่ม inspiratory flow rate เพื่อให้ได้ระยะเวลาการหายใจเข้าเป็น 1.5-2.0 วินาที

6. ถ้าคนไข้ที่ได้ยาคลายกล้ามเนื้อและยังไม่ได้ reverse หรือ คนไข้ neuro ที่มีปัญหา apnea ไม่หายใจ ให้ตั้งเป็น Control Mode โดย ปรับปุ่ม Controlled Expiratory Time(แปลว่า ปุ่มควบคุมเวลาหายใจออก) ถ้าหมุนไปทาง Decrease อัตราการหายใจจะเร็วขึ้น ถ้าหมุนไปทาง Increase อัตราการหายใจจะช้าลง ให้ปรับจนกระทั่งมีอัตราการหายใจประมาณ 12-14 ครั้ง/นาที

7. ในคนไข้ที่พอหายใจได้แต่ไม่มีแรงพอจะหายใจเองทั้งหมด ให้ใช้ Mode Assist โดยปรับที่ปุ่ม Starting Effort ไว้ที่ 12 นาฬิกา จะได้ pressure trigger ที่ -2 cmH2O แต่ถ้าไม่ได้ให้ปรับ ปุ่ม Starting Effort จนได้ pressure trigger ที่ -2 cmH2O   (pressure trigger ที่ -2 cmH2O หมายถึง คนไข้ต้องออกแรงดึงเครื่องช่วยหายใจ -2 cmH2O เครื่องช่วยหายใจจึงจะจ่ายก๊าซให้)

8. ในการตั้ง Bird's เป็น Assist Mode(ตามข้อ7) นั้นมีความเสี่ยงต่อคนไข้อาจเสียชีวิตได้ ถ้าคนไข้มีอาการแย่ลงจากพยาธิสภาพของคนไข้เอง หรือ ได้รับยาแก้ปวดชนิดที่กดการหายใจ หรือได้รับยานอนหลับ เพราะ คนไข้จะไม่มีแรงดึงเครื่องช่วยหายใจจนถึง pressure ที่ -2 cmH2O ทำให้เครื่องไม่จ่ายก๊าซให้ คนไข้ก็เสียชีวิต

9. ดังนั้น Mode ที่ safety ที่สุดก็คือ Assist/Control Mode ซึ่งมีวิธีั้คือ ขั้นตอนแรก บิดปุ่ม Starting Effort ไปที่ 9 นาฬิกา ขั้นตอนที่สอง หมุนปุ่ม Controlled Expiratory Time ไปที่ 12 นาฬิกาอย่างรวดเร็ว นับ rate แล้วปรับปุ่ม Controlled Expiratory Time จนได้อัตราการหายใจ 12-14 ครั้ง/นาที ขั้นตอนที่สาม โยกปุ่ม Starting Effort ไปที่ 12 นาฬิกาเหมือนเดิม ผลก็คือ Bird's จะทำงานโดย คนไข้หายใจช้า เครื่องก็ตีช้าแต่ไม่ต่ำกว่า 12 ครั้ง/นาที คนไข้หายใจเร็ว เครื่องจะตีเร็ว แต่จะไม่หยุดตีแน่นอน (ถ้าไม่มีคนไปปิด)

ขอบคุณ 
รศ.นพ. เทพกร  สาธิตเทพมณี เป็นอย่างสูงค่ะ
http://www.phimaimedicine.org/2009/11/177-respirator-bird.html 

แนะนำให้อ่านเพิ่มเติม
http://thethanika.blogspot.com/2010/09/blog-post_15.html 
http://medequip.st.mahidol.ac.th/File_Upload/P08.pdf 
http://www.researchers.in.th/blogs/posts/4208 
http://www.si.mahidol.ac.th/km/checklogin_star.asp?st_id=81 
http://medi.moph.go.th/traning/crose/medicu/ICU/Ventilator_Setting.pdf