หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

ยาละลายลิ่มเลือดสมอง

ยาละลายลิ่มเลือดสิ่งที่ท่านต้องรู้
หลอดเลือดของเราเมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีคราบไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือด โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่จะมีคราบเกิดเร็ว เมื่อคราบใหญ่ขึ้นจะทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญลดลง เมื่อคราบใหญ่ขึ้นหรือเกิดลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดจนเลือดไม่สามารถผ่านไปเลี้ยงอวัยวะจนอวัยวะขาดเลือดหรือตาย
การให้ยาละลายลิ่มเลือดจะให้ได้ผลดีขึ้นกับระยะเวลาที่ให้ตั้งแต่เริ่มมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด หากให้ช้าลิ่มเลือดจะละลายยาก หากสามารถให้ได้เร็วก็จะลดอัตราการเสียชีวิตลงได้
ยาที่ใช้สำหรับละลายลิ่มเลือดได้แก่
Fibrinolytic agents include
  • alteplase (Activase),
  • streptokinase (Kabikanase, Streptase),
  • anistreplase (Eminase),
  • tissue plasminogen acitivator (TPA)
  • and urokinase (Abbokinase).
ข้อสังเกต
  • ยาละลายลิ่มเลือดจะให้ได้ผลดีจะต้องรีบให้ยาหลังจากเกิดอาการ หากเป็นหัวใจหรือหลอดเลือดสมองหากให้ภายใน 3 ชั่วโมงจะได้ผลดี ดังนั้นหากท่านเกิดอาการของโรคหัวใจขาดเลือด หรืออัมพาต ควรจะไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
  • การให้ยาละลายอาจจะทำมีเลือดออกในหลายอวัยวะซึ่งจะมีอาการมากน้อยขึ้นกับอวัยวะ และปริมาณเลือดที่ออก
หากท่านมีโรคดังต่อไปนี้ควรจะบอกแพทย์ทุกครั้ง
  • โรคเลือด
  • เลือดออกง่าย
  • โรคหลอดเลือด หรือโรคหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคอัมพาต
  • ลำไส้อักเสบ ดรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • วัณโรค
  • เนื้องอกในสมอง
  • โรคตับ
  • ได้รับอุบัติก่อนหน้านี้
  • เคยผ่าตัดก่อนหน้านี้
ผลข้างเคียงจากการให้ยาละลายลิ่มเลือด
  • เลือดออกทางเดินปัสสาวะ
  • ท้องผูก
  • ไอเสมะหะมีเลือด
  • เลือดกำเดาไหล
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • เลือดออกทางช่องคลอด
  • ปวดสีรษะ
  • ปวดหลัง
  • ปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร
เนื่องยานี้อาจจะจะทำให้เลือดออกง่าย ท่านที่ใช้ยาดังต่อไปนี้ต้องบอกแพทย์
  • Aspirin 
  • ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID
  • ยากันชักเช่น valproic acid (Depakene) and divalproex (Depakote)
  • ยาป้องกันเลือดแข็ง
  • ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Cephalosporins,เช่น cefoperazone, cefamandole
ยาที่ใช้ในการละลายลิ่มเลือด

Alteplase

rt-PAหรือAlteplaseเป็นยาฉีดละลายลิ่มเลือด(Thrombolytic agent)  โดยAlteplaseเป็นไกลโคโปรตีนซึ่งเป็นตัวกระตุ้นโดยตรง เป็นผลให้เกิดการละลายของลิ่มเลือด ใช้ในผู้ป่วย acute ischemic stroke ,acute myocardial infarction acute massice pulmonary ambolismเป็นยาละลายลิ่มเลือดที่นิยมใช้ในภาวะฉุกเฉินมากที่สุด ข้อบ่งชี้ในการใช้
  • ST-elevation myocardial infarction (STEMI),
  • acute ischemic stroke (AIS),
  • acute massive pulmonary embolism,และ
  • central venous access devices (CVAD)
ยานี้ไม่มี antigenic ดังนั้นจึงสามารถให้ซ้ำได้
วิธีการให้ยา
  • Alteplase (tPA) ขนาด 50-100 mg ผสมใน sterile waterให้มีความเข้มข้น 1 mg/mL.หยดใน 1.5 ชั่วโมง
  • สำหรับผู้ป่วยที่หลอดเลือดหัวใจขาดเลือดจะให้ 15 mgฉีดทางน้ำเกลือ และให้ 0.75 mg/kg (up to 50 mg)ให้ทางน้ำเกลือกในเวลา 30 นาทีหลังจากนั้นให้ 0.5 mg/kg (up to 35 mg)ให้ในเวลา 60 นาที ปริมาณมากที่สุดคือ 100 mg

Reteplase

เป็น recombinant tissue-type plasminogen activatorที่ออกฤทธิ์เร็ว และมีโรคแทรกซ้อนเลือดออกน้อยกว่า ใช้ในกรณีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเท่านั้น
ขนาดยาที่ให้
  • ให้ 10-U ผสมใน sterile water (10 mL) to 1 U/mL.ฉีดให้หมดใน 2 นาที หลังจากนั้นอีก 30 นาทีจึงให้ 10 unit อีกครั้ง

Tenecteplase (TNKase)

ขณะนี้มีใช้เฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเท่านั้น แต่ก็มีการศึกษาอื่นว่าใช้ได้ในโรคหลอดเลือดสมองตีบ ข้อดีขอยานี้คือมีอุบัติการเลือดออกน้อย
ขนาดของยาที่ให้
จะให้ตามน้ำหนักโดยการผสมยา 50-mg vial in 10 mL sterile water (5 mg/mL).
โดยฉีดใน 5 วินาที ขนาดที่ให้ตามน้ำหนักตัวดังตารางข้างล่าง
  • < 60 kg - 30 mg ( ให้ 6 mL)
  • ≥ 60 kg to < 70 kg - 35 mg (ให้ 7 mL)
  • ≥ 70 kg to < 80 kg - 40 mg (ให้ 8 mL)
  • ≥ 80 kg to < 90 kg - 45 mg ( ให้ 9 mL)
  • ≥ 90 kg - 50 mg ( ให้ 10 mL)

Streptokinase

เป็นยาละลายลิ่มเลือดที่มีราคาถูกที่สุด มี antigenic ทำให้เกิดอาการแพ้ และไม่สามารถให้ยานี้ซ้ำ
ขนาดที่ให้
ให้ขนาด 1.5 million Uใน 50 mL D5W ให้ในเวลา 1 ชั่วโมง

การบริหารยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ( Enoxaparin Sodium injection)


 การบริหารยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ( Enoxaparin Sodium injection)
ใบลงทะเบียน กิจกรรม TQM / CQI


หน่วยงาน / ทีมงาน   ห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรม
ประธาน                      นางชนะใจ  จรูญพิพัฒน์กุล
เลขานุการ                 นางสาวปาริชาติ  หิตายะโส
                                    นางสาวศุภาสินี  สายสะอาด 
เรื่อง                         โครงการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล “ การลดภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยาละลายลิ่มเลือด กลุ่ม เฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ( Low  molecular  weight heparin ( LMWH ; Enoxaparin )
ขั้นตอนที่ 1
             ความเป็นมาของปัญหา

 ในปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ( Acute coronary syndrome ;ACS ) ได้มีการนำเอายาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ( Low molecular weight heparin ; LMWH ) เข้ามาใช้ในการรักษา ชนิดที่ใช้ในปัจจุบันคือ Enoxaparin  ( อ้างใน : ภาควิชาอายุรศาตร์  คณะแพทย์ศาตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , Evidence Based Clinical  Practice Guideline ทางอายุรกรรม 2548 )  ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาเทียบเท่ากับ Heparin แต่มีข้อดีกว่า Heparin คือสะดวกในการบริหารยา การปรับยา และผลข้างเคียงน้อยกว่า ( อ้างใน:CUIR at Chulalongkon Universityประสิทธิผลของการให้เฮปารินโมเลกุลต่ำปรับตามน้ำหนักตัวทางหลอดเลือดดำเปรียบเทียบกับเฮปารินปรับตามน้ำหนักตัวให้ทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่มาขยายหลอดเลือด ) แต่ปัญหาที่พบบ่อยในการให้ยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลตต่ำ ซึ่งบริหารยาโดยให้ขนาด1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ฉีดเข้าทางชั้นใต้ผิวหนัง ปัญหาที่พบคือ เกิดรอยเลือด, รอยจ้ำเลือด, ก้อนเลือด ( Hematoma ) ตรงตำแหน่งบริเวณที่ฉีดยา  บางรายมีขนาดใหญ่มาก ทำให้ผู้ป่วยรู้สีกสูญเสียภาพลักษณ์ วิตกกังวล  และในบางรายพบว่ามีอาการปวดแสบปวดร้อนขณะและหลังฉีดยา
     ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลการฉีดยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ( Low molecular weight heparin ) และเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย ผู้จัดทำโครงการจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นแนวทางเดียวกันและให้ พยาบาลวิชาชีพได้เห็นถึงความสำคัญ และร่วมมือกันเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลและการบริการแก่ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่2
             วิธีการคัดเลือกปํญหา

             การบริหารยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ  มีการบริหารยาโดยการฉีดเข้า
ชั้นใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องห้ามฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ  เทคนิคการฉีดยามีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของยา ( อ้างใน : Enoxaparin Sodium injection . Available from ;www.rxlist.com )
      ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการฉีดยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำคือ
      1. Petechiae  ( spot )    :  จุดเลือดออกใต้ผิวหนังเส้นผ่าศูนย์กลาง < 2 มม.
      2. Purpura                    :   เลือดออกใต้ผิวหนังไม่มีขอบนูน เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-10 มม.
      3. Echymosis               :  เลือดออกใต้ผิวหนังไม่มีขอบนูน เส้นผ่าศูนย์กลาง > 10 มม.
      4. Bruise                      :  รอยจ้ำเลือดสีเขียวม่วงคลำได้ขอบนูน
      5. Pain                         :  ปวดแสบปวดร้อน
      ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวนี้ เป็นปัญหาที่ไม่สำคัญก็จริง แต่ถ้าบุคลากรไม่ให้ความสำคัญ 
ก็จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวนี้ ขึ้นมาซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโดยตรงทั้งทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม ทำให้ผู่ป่วยเกิดความทุกข์ทรมาน เจ็บปวด สูญเสียภาพลักษณ์ วิตกกังวล และทางด้านร่างกาย  การฉีดยากลุ่มนี้ถ้าฉีดยาไม่ถูกวิธีจะมีผลต่อการออกฤทธิของยาและทำให้ประสิทธิภาพการรักษาลดลง เช่น การฉีดยากลุ่มนี้ห้ามฉีดทางกล้ามเนื้อ ให้ฉีดผ่านทางชั้นใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องเพราะตัวยาสามารถดูดซึมได้ดีในชั้นใต้ผิวหนัง ( อ้างใน : เอกสารกำกับยา Clexane ® Aventis Sanofi Ltd. )
      ดังนั้นผู้จัดทำโครงการจึงได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ( Low molecular weight heparin ) ในห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรม  อายุรกรรมหญิง  อายุรกรรมชาย  โรงพยาบาลมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่  1 เม.ย 2550 – 30 ก.ย 2550 ในผู้ป่วยจำนวน 30 ราย พบว่าหลังการฉีดยาเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ มีรอยเลือด, รอยจ้ำเลือด, ก้อนเลือด, ปวดแสบปวดร้อน จำนวน 24 ราย  คิดเป็นร้อยละ 80
โดยแยกเป็น ห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรม  5  ราย   คิดเป็นร้อยละ 20.83
                     หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย     11 ราย  คิดเป็นร้อยละ 45.83
                     หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง    8  ราย  คิดเป็นร้อยละ  33.33
      จากข้อมูลปัญหาที่ได้ในหน่วยงานดังกล่าวพบว่า
-  ขั้นตอนการปฏิบัติ  การประเมิน  การจัดการกับภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ( Low molecular weight heparin ) ยังมีความหลากหลาย
-  ไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
         ฉะนั้นหากมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกันก็จะทำให้การฉีดยา           ละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวและยังช่วยให้
พยาบาลวิชาชีพซึ่งปฏิบัติกับผู้ป่วยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตามแนวทางที่ตั้งไว้  ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพ  ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวทางปฏิบัติ

สิ่งที่คาดหวัง / วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลสำหรับการลดภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยา LMWH ในห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • เพื่อมีแนวทางการปฏิบัติ การลดภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยา LMWH เป็นแนวทางเดียวกันทั้งโรงพยาบาลมหาสารคาม
ขั้นตอนที่ 3
             ระยะเวลาดำเนินการ     1 ต.ค 2552 – 30 ก.ย. 2553
             กลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนา 
             พยาบาลวิชาชีพในห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรม
ขั้นตอนที่ 4
             วิธีดำเนินการ

  • กำหนดปัญหาและขอบเขต
  • กำหนดทีม
  • กำหนดวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย
  • การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์
  • ยกร่างแนวทางปฏิบัติ
  • นำแนวทางปฏิบัติไปใช้
  • การเผยแพร่แนวทางปฏิบัติ
  • การประเมินผลการใช้แนวทางปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 5
ตัวชี้วัด / ผลสำเร็จที่ต้องการ
 ผลสำเร็จที่ต้องการ

  • พยาบาลวิชาชีพในห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรมตระหนักถึงความสำคัญในการปฎิบัติตามแนวทางการฉีดยาละลาย       ลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินโมเลกุลต่ำ ( Low molecular weight heparin ; LMWH )
  • มีการติดตามผลการปฎิบัติการพยาบาลเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยาละลาย     ลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินโมเลกุลต่ำ ( Low molecular weight heparin ; LMWH ) ในห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรม  ทุกเดือน พร้อมรายงานผลการดำเนินการ และแนวทางแก้ไขเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นประจำทุกเดือน
  • มีแนวทางปฏิบัติการลดภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ( Low molecular weight heparin ; LMWH ) ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโรงพยาบาลมหาสารคาม
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
  • อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ( Low molecular weight heparin ; LMWH ) น้อยกว่า 80 %
  • พยาบาลวิชาชีพในห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรมปฏิบัติตามแนวทางการฉีดยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ( Low molecular weight heparin ; LMWH )  100%                     
ขั้นตอนที่ 6
        ขั้นตอนการปฎิบัติ

1. แบบประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยากลุ่ม Low  Molecular  Weight  Heparin
ชื่อ – สกุล..................................................อายุ...........ปี    น้ำหนัก.....................กิโลกรัม
HN...............................................................
วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล.........................................................................................................
การวินิจฉัยโรค..........................................................................................................................
ขนาดยา  LMWH  ที่ได้รับ                             Enoxaparin…………mg.  ทุก ............ชั่วโมง
                                                                  
วันที่เริ่มให้ยา..............................................................
เหตุผลในการใช้ยากลุ่มLMWH              NSTEMI                                STEMI
วันที่หยุดยากลุ่มLMWH……………  ครบขนาดตามแผนการรักษา
                                                               หยุดยาก่อนกำหนดเนื่องจาก.....................
ยาอื่นที่ได้รับร่วมที่มีผลต่อภาวะเลือดออก     Strepkinase           Aspirin
                                                                        Plavix                   Warfarin
                                                                        Other…………………………........
2.  ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง
วันที่Admit
Lab
Hct
Platelet
PTT
PT
Trop-T
CK-MB
3.  ขั้นตอนการฉีดยากลุ่ม LMWH ใต้ผิวหนัง
  • เตรียมอุปกรณ์สำหรับฉีดยาได้แก่ ยาฉีด Enoxaparin ( ขนาด 1mg / BW 1 kg )สำลีชุบ   70% แอลกอฮอล์ สำลีแห้งพร้อม  Micropore หรือ Transpore น้ำแข็งใส่ถุง Zip lock       พร้อมถุงผ้า
  • บอกและอธิบายผู้ป่วยให้ทราบชื่อยา  ประโยชน์จากยาและผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น
  • สอนให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีสังเกตและประเมินรอยจ้ำเลือดหรือก้อนเลือดด้วยตนเองและให้รีบแจ้งพยาบาลทันทีเมื่อมีอาการดังกล่าว
  • จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายในท่าที่สบายชันเข่าทั้ง 2 ข้างหรือข้างใดข้างหนึ่งเพื่อให้ผิวหนัง หน้าท้องหย่อน
  • ขออนุญาตผู้ป่วยเพื่อทำเครื่องหมาย ( Marker ) ด้วยปากกา  Permanent  เส้นเล็กตามแนวเข็มขัดผ่านสะดือ
  • วางถุงน้ำแข็งบริเวณหน้าท้องประมาณ 5 นาที เนื่องจากความเย็นจะช่วยลดความเจ็บปวดขณะฉีดยาและลดการเกิดรอยจ้ำเลือดภายหลังการฉีดยา
  • เริ่มฉีดยาเข็มแรกบริเวณหน้าท้องทางด้านขวาหรือซ้ายของผู้ป่วยห่างจากสะดือ 2 นิ้ว และเปลี่ยนสลับด้านที่ฉีดยาทุกครั้ง  ถ้าพบว่ามีรอยช้ำ  จ้ำเลือดหรือก้อนเลือด ( Hematoma ) ให้เลื่อนจุดที่ฉีดยาออกไปห้ามฉีดซ้ำรอยเดิม
  • ห้ามไล่ฟองอากาศออกจากกระบอกฉีดยาเนื่องจากฟองอากาศจะช่วยดันยา
    ให้เข้าไปอยู่ในชั้นใต้ผิวหนังป้องกันการย้อนกลับของยาตามรอยรูเข็มที่ทำให้เกิด
    รอยจ้ำเลือดหรือก้อนเลือดใต้ผิวหนังได้
  • ใช้สำลีแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดผิวหนังบริเวณหน้าท้องตำแหน่งที่จะฉีดยาอย่างนุ่มนวล
    ใช้มือข้างที่ถนัดจับกระบอกฉีดยา ส่วนมือข้างที่ไม่ถนัดจับดึงผิวหนังขึ้นด้วยนิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้และนิ้วกลางฉีดยาโดยปักเข็มในแนวตั้งฉาก (90องศา)กับผิวหนังหน้าท้องไม่ต้องดึงแกนในของกระบอกฉีดยาขึ้นเพื่อทดสอบตำแหน่งของปลายเข็ม
    ว่าเข้าไปในหลอดเลือดหรือไม่เพราะการดึงแกนในของกระบอกฉีดยาจะทำให้เกิดแรงดันลมขึ้น
    ในกระบอกฉีดยาจนถึงตำแหน่งของปลายเข็ม  ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดเล็กบริเวณปลายเข็มแตกได้  การฉีดยาจึงให้ดันยาลงไปทันทีที่ปักเข็มและให้ดันยาอย่างช้าๆพร้อมทั้งดันอากาศ
    ที่อยู่ในกระบอกฉีดยาตามลงไปด้วยให้หมด
    ดึงเข็มฉีดยาออกในแนวตรง ขณะเดียวกันยังไม่ปล่อยมือข้างที่จับดึงผิวหนังไว้ใช้สำลีแห้งปิดรอย
    ที่ฉีดยาโดยกดเบาๆให้ผิวหนังยุบลงประมาณ 1 เซนติเมตร 
    กดเพื่อห้ามเลือดประมาณ 30 วินาที (ห้ามนวดหรือคลึงผิวหนัง) จากนั้นนำถุงน้ำแข็ง
    มาวางที่ผิวหนังหน้าท้องอีกครั้งประมาณ 5 นาที
    .ก่อนและหลังฉีดยาทุกครั้งให้สังเกตและประเมินรอยจุด (Spot) จ้ำเลือด (Bruise) หรือ ก้อนเลือด (Hematoma) ด้วยการวัดขนาดและลงบันทึกในตารางการฉีดยากลุ่มLMWH และบันทึกในแบบบันทึกทางการพยาบาล
    มีการส่งข้อมูลต่อเรื่องการประเมินภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงจากการฉีดยา
    กลุ่มLMWHให้แก่พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยคนต่อไป  เพื่อประเมินและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
                                    หมายเหตุ  LMWH  ที่ใช้ได้แก่ – Enoxaparin [ Clexane ]
4. ตารางบันทึกการฉีดยาLMWHที่หน้าท้อง
ตัวอย่าง

ชนิดและ
ขนาดของยา
เวลา
วันที่ - ลงชื่อ
Enoxaparin  0.4 ml           sc  ทุก  12 hr06.00น.Lt
18.00น.Rt
หมายเหตุ :  ควรวัดระยะการฉีดห่างจากเข็มที่แล้ว 1 นิ้ว
            Lt : Left  ( ด้านซ้าย )
                  Rt : Right ( ด้านขวา )
5. ตารางบันทึกภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยา LMWH
          Times Problem12  ชม.24 ชม.36 ชม.48  ชม.60 ชม. 72 ชม.84 ชม.96  ชม.
Spot
Purpura
Echymosis
Bruise
Hematoma
Pain  scale
Satisfactions
หมายเหตุ   Petechiae ( Spot ) : จุดเลือดออกใต้ผิวหนังเส้นผ่านศูนย์กลาง< 2 มม.
         Purpura                 : เลือดออกใต้ผิวหนัง ไม่มีขอบนูน  เส้นผ่านศูนย์กลาง 2  - 10 มม.
         Echymosis               : เลือดออกใต้ผิวหนัง  ไม่มีขอบนูน  เส้นผ่านศูนย์กลาง > 10 มม.
         Bruise                       : รอยจ้ำเลือดสึเขียวหนังม่วง คลำได้ขอบนูน
         Hematoma              : ก้อนเลือดใต้ผิวหนัง คลำได้
         Pain  scale               : คะแนนความปวด  คะแนนเต็ม  10  คะแนน
         Satisfactions           : คะแนนความพึงพอใจ  คะแนนเต็ม 10 คะแนน                
ขั้นตอนที่ 7

          การตรวจสอบและการประเมินผล
         จากการที่ได้นำแนวทางปฎิบัติการฉีดยาละลายลิ่มเลือดกกกลุ่ม LMWH มาใช้ในหน่วยงานตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2550 – 30 กันยายน  2551
- จำนวนผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดกลุ่ม LMWH ทั้งหมดจำนวน 30 ราย
- จำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการฉีดยาละลายลิ่มเลือด จำนวน 8 ราย เกิดจาก
    -  ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดกลุ่ม LMWH ร่วมกับ Plavix
    -  ผู้ป่วยมีระดับความเข้มข้นของเลือด(Hct) ต่ำ 27 vol%
    - ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดกลุ่ม LMWH ร่วมกับ ASA
ขั้นตอนที่ 8
         ผลลัพธ์ที่ตรวจสอบได้
-  ภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยาละลายลิ่มเลือด
   ก่อนใช้แนวทางปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 80  จากผู้ป่วยจำนวน 30 ราย
   หลังใช้แนวทางปฏิบัติ  คิดเป็นร้อยละ 26  จากผู้ป่วยจำนวน 30 ราย
ขั้นตอนที่ 9
            ปรับปรุงแก้ไขให้ผลลัพธ์ดีขึ้นหรือมาตรฐานที่จัดทำใหม่
      1. โครงการควรมีการดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุดัชนีชี้วัดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
จากการฉีดยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ( Low molecular weight heparin ; LMWH ) น้อยกว่า 80 %
      2. พยาบาลวิชาชีพทั้งโรงพยาบาลมหาสารคามปฏิบัติตาม
แนวทางการฉีดยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มเฮปารินน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ( Low molecular weight heparin ; LMWH )  100%                                
      3. เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการที่ทั่วถึงควรมีการ
.  จัดเตรียมเอกสารในรูปแผ่นพับ / รูปเล่ม ไว้ใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติจริง
.  ประชุมหลังการรับเวรในแต่ละหอผู้ป่วย
.  จัดบอร์ดให้ความรู้
 แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แนวทางปฎิบัติการฉีดยาละลายลิ่มเลือด
ข้อความที่ประเมิน
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วยปานกลาง
เห็นด้วยน้อย
-  มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง
10(100%)
-  มีความสะดวกในการปฏิบัติ
10(100%)
-  ใช้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน
10(100%)
-  ใช้ได้ผลดีในการดูแลผู้ป่วย
10(100%)
-   ท่านพึงพอใจในการใช้แนวทางปฏิบัติ
10(100%)
    -   (ยังไม่สิ้นสุดโครงการ)

ขั้นตอนที่ 9


            ปรับปรุงแก้ไขให้ผลลัพธ์ดีขึ้นหรือมาตรฐานที่จัดทำใหม่

     -  (ยังไม่สิ้นสุดโครงการ)